เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
วันนี้มีงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่งานพระราชพิธีที่รักษาไว้แต่ครั้งอยุธยาและอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดมาจนเป็นแห่งเดียวในโลก การนี้กองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ได้กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗หลังจากที่ กรมศิลปากร ได้ซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน ๑๔ ลำ ที่กองทัพเรือมอบให้ดำเนินการแล้ว จึงมีการเตรียมการด้านการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพาย และการซ่อมบำรุงเรือ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่ง และเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ธันวาคม ๒๕๖๖ ในครั้งนี้ได้ใช้เรือในพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น ๕๒ ลำ จัดขบวนเป็น ๕ ริ้ว โดยใช้ลำน้ำเจ้าพระยามีความยาว ๑,๒๐๐ เมตร กว้าง ๙๐ เมตร ใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น๒,๒๐๐ นาย โดยจัดตามแบบอย่างกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยอยุธยา การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำของพระเจ้าอยู่หัว ในสมัยโบราณนั้น มีเรือ ๒ สำรับ เป็น เรือทอง อันหมายถึง เรือที่แกะสลักลวดลายและลงรักปิดทองสำรับหนึ่ง ใช้เวลาเสด็จในกระบวนที่เป็นพระราชพิธี ส่วนอีกสำรับหนึ่ง เป็นเรือไม้ ใช้ทรงในเวลาปกติทั่วไปไม่ปะปนกัน จากการจัดริ้วกระบวนเรือมีชื่อเรือต่างๆ มากมาย ที่ร่วมในกระบวนพยุหยาตรา ภายหลังมีการสร้างเรือพระที่นั่งและเรือในกระบวนในแต่ละรัชกาลอีกหลายลำ เรือกระบวนนั้นมีการจัดริ้วร่วมกระบวน คือมี ๑.เรือประตู๒.เรือพิฆาต ๓.เรือดั้ง ๔.เรือกลองนอก-กลองใน ๕.เรือตำรวจนอก-ตำรวจใน ๖.เรือรูปสัตว์ ๗.เรือแซ๘.เรือแซง ๙.เรือริ้ว ๑๐.เรือกิ่ง ๑๑.เรือคู่ชัก๑๒.เรือไชย ๑๓.เรือโขมดยา ๑๔.เรือพระที่นั่งลำทรง๑๕.เรือพระที่นั่งรอง ๑๖.เรือศรี ๑๗.เรือกราบ
โขนเรือกระบี่ปราบเมือมาร
สำหรับเรือรูปสัตว์นั้นรับอิทธิพลมาจากอินเดีย จากตราประจำตำแหน่งของเสนาบดีตั้งแต่สมัยอยุธยามา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้รูปสัตว์ ทั้งสิ้น เช่น ราชสีห์ คชสีห์ ครุฑ นาค ฯลฯ ตราประจำตำแหน่งนี้ มีปรากฏอยู่ในกฎหมายลักษณะศักดินา ที่ตั้งขึ้นในรัชกาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพ.ศ.๑๙๙๘ และจากพงศาวดาร เรือรูปสัตว์ ปรากฏขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.๒๐๗๖ ซึ่งพระองค์ทรงแก้เรือแซเป็นเรือไชย และเรือรูปสัตว์ต่างๆ เพื่อจะให้ตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือได้เรือรูปสัตว์นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและเรือพระที่นั่งก็มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ ตามพระราชลัญจกรเช่นกัน เช่น เรือครุฑ มีพระราชลัญจกร “พระ ครุฑพ่าห์” หัวเรือแต่เดิม ก็ทำเป็นรูปครุฑเท่านั้น เดิมชื่อว่า “เรือ มงคลสุบรรณ” ที่ไม่มีองค์พระนารายณ์อยู่ด้วย แต่ทำเป็น “ครุฑยุดนาค” ดังปรากฏในบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไชยเชษฐสุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ที่ว่า “เรือ ครุฑยุดนาคหิ้ว ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเดิมมีแค่รูปครุฑเปล่าๆ ต่อมาใน รัชกาลที่ ๔พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ทำองค์พระนารายณ์เติมเข้าไปด้วย สมัยอยุธยานั้นมีเรือพระที่นั่งลำทรง ถ้าเป็นกระบวนพยุหยาตราใหญ่ ใช้เรือพระที่นั่งกิ่งทอดพระที่นั่งบุษบกเป็นที่ประทับ
โขนเรือครุฑเหิรเห็จ
เรือพระที่นั่งกิ่งที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราใหญ่ชลมารค ในสมัยรัตนโกสินทร์ จะใช้ลำใดลำหนึ่งใน ๓ ลำ คือ ๑.เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์เป็นเรือที่แกะสลักโขนเรือเป็นรูปหงส์ ลำปัจจุบันสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้น แทนลำเดิมที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์นั้นมีมาแต่สมัยอยุธยาแล้ว จากบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรฯว่า “สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย-งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์-เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์-ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม” ๒.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ซึ่งมีโขนเรือเป็นรูปพญานาค๗ เศียร ๓.เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และ ๔.เรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งนี้มีมานานแล้วแต่ครั้งอยุธยา ดังนั้นโขนเรือพระที่นั่งแห่งสยามจึงเป็นศิลปกรรมหนึ่งเดียวที่มีโอกาสชมได้ยากนัก
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี