การสร้างความนิยมไปทั่วโลกนั้นคงไม่มีใครในโลกไม่รู้จัก “หมูเด้ง” ดังนั้นวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริม Thai Cultural Content for Soft Power Presented by Moo Deng เพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรม ร่วมกับ นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมพิธีเปิดงาน ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยนำ “หมูเด้ง” ฮิปโปแคระที่ชาวไทยร่วมกันตั้งชื่อจนมีคนสนใจในโลกออนไลน์และกลายเป็นผู้นำการสื่อสารความเป็นไทยสู่สากล ถ่ายทอดอัตลักษณ์ เสน่ห์วิถีชีวิต ประเพณีไทย สู่การเป็น World Event หมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เรื่องของฮิปโปโปเตมัสแคระ (Choropsis liberiensis)เป็นฮิปโปโปเตมัส ขนาดเล็ก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในป่าและหนองบึงในแอฟริกาตะวันตกส่วนใหญ่อยู่ในไลบีเรีย และจำนวนเล็กน้อยในเซียร์ราลีโอนกินีและไอวอรีโคสต์ ฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นได้ถูกกำจัดออกจากไนจีเรียแล้ว จึงเหลืออยู่น้อยฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นเป็นสัตว์สันโดษและหากินเวลากลางคืนเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวจากทั้งหมด ๒ ชนิด ในวงศ์Hippopotamidae ซึ่งอีกชนิดเป็นพันธุ์ที่ใหญ่กว่ามาก คือ
หมูเด้งกับตัวแม่
ฮิปโปโปเตมัส ธรรมดา (Hippopotamus Amphibius) หรือฮิปโปโปเตมัสไนล์ ส่วนฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นได้มีการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมบนบกได้หลายอย่าง แต่เช่นเดียวกับฮิปโปโปเตมัสทั่วไป เป็นสัตว์กึ่งน้ำและอาศัยน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังและรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เย็น พฤติกรรม เช่น การผสมพันธุ์ และการให้กำเนิดอาจเกิดขึ้นในน้ำหรือบนบกฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นเป็นสัตว์กินพืช โดยกินเฟิร์น พืชใบกว้าง หญ้า และผลไม้ที่พบในป่า ฮิปโปโปเตมัสแคระเป็นสัตว์ที่หากินเวลากลางคืนในป่าที่หายาก ยิ่งเป็นสัตว์ที่ยากต่อการศึกษาในป่าด้วย ฮิปโปแคระนั้นถูกคุกคามเป็นหลักเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากป่าไม้ถูกตัดโค่นและเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกลักลอบล่าสัตว์จากนักล่าสัตว์ป่าสัตว์ผู้ล่าตามธรรมชาติ และสงคราม ฮิปโปแคระเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ถูกล่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อเป็นอาหารในไลบีเรีย ดังนั้น ฮิปโปแคระจึงไม่เป็นที่รู้จักนอกแอฟริกาตะวันตก จนกระทั่งศตวรรษที่ ๑๙ ฮิปโปแคระนี้ได้ถูกนำไปไว้ในสวนสัตว์ในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ และขยายพันธุ์ได้ดีในกรงขัง และการวิจัยส่วนใหญ่ได้มาจากตัวอย่างสัตว์ในสวนสัตว์ การอยู่รอดของสปีชีส์นี้ในกรงขังนั้นมีความแน่นอนมากกว่าในป่า ในการประเมินในปี ๒๐๑๕ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติประมาณการว่ามีฮิปโปแคระเหลืออยู่ในป่าน้อยกว่า ๒,๕๐๐ ตัว ปัจจุบันมีมากขึ้นแล้วจากสวนสัตว์และสวนสัตว์ไทยได้อนุรักษ์ไว้จนเป็นกระแส “หมูเด้ง” ทุกวันนี้ จากการที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านวัฒนธรรมโดยนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ไทยมาพัฒนาเป็น Creative Culture เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจนั้น โดยเฉพาะกระแสความชื่นชอบฮิปโปแคระ “หมูเด้ง” ซึ่งได้สะท้อนความน่ารักและเป็นเสน่ห์ไทยสู่สายตาโลก
ภาพหมู่จากสื่อโลก
กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้ร่วมกับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความเป็นไทยผ่าน “หมูเด้ง” ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์สื่อเผยแพร่ความเป็นไทยสู่สากล และขวัญใจมหาชนที่สร้างกระแสความน่ารักให้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ TikTok ที่ได้มีการแชร์อย่างรวดเร็วจากคนไทยและคนทั่วโลก รวมถึงบรรดา Influencers และสำนักข่าวระดับโลกที่ให้ความสนใจนำเสนอเรื่องราวของ “หมูเด้ง” อย่างต่อเนื่อง ทำให้“หมูเด้ง” เป็นสัญลักษณ์การสื่อสารที่ทรงพลังและสามารถเชื่อมโยงกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว จนต้องมอบเกียรติบัตร “Thai cuteness :ตัวตึง ถึงไทย” ให้แก่ “หมูเด้ง” ในฐานะผู้สื่อสารความเป็นไทยสู่สากล รวมถึงยังมีกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อในประเพณีลอยกระทง สงกรานต์ ตลอดจนกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ หลากหลายจนประมาณไม่ได้แล้วจะตื่นตูมกันไปได้แค่ไหน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี