ครอบครัวและคนรอบข้างมีบทบาทสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสามารถฟื้นฟูจิตใจได้เร็วขึ้น เพราะการมีคนเดินเคียงข้างอย่างเข้าใจ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวบนเส้นทางการต่อสู้แล้ว ยังช่วยเยียวยาและเป็นพลังอันยิ่งใหญ่สนับสนุนในการก้าวข้าม แต่ในทางกลับกันหากต้องถูกทิ้งให้เดินไปเพียงลำพัง คงเป็นเรื่องยากในการฝ่าฟัน แต่การเดินไปด้วยกันกับผู้ป่วยก็มีความท้าทายไม่น้อย เนื่องจากต้องคอยรับฟังปัญหา และอาจได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของผู้ป่วย จนทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย ท้อแท้ รับมือกับผู้ป่วยยากสุดท้ายสะสมเป็นความเครียดได้
ดังนั้น ครอบครัวและคนรอบข้าง หรือคนที่ดูแลผู้ป่วย ไม่เพียงต้องมีความเข้มแข็ง มีความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็น และมุ่งมั่นพร้อมฝ่าฟันไปด้วยกัน แต่ต้องดูแลสุขภาพใจของตัวเองด้วย ซึ่งในเบื้องต้นมีวิธี ดังนี้
เหนื่อยเกินไปหรือไม่? ถามใจให้รู้เท่าทัน
ควรวางแผนในการดูแลร่วมกันกับครอบครัว หรือคนสนิทรอบตัวผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งเหนื่อยมากจนเกินไป มีการผลัดเปลี่ยนช่วยกันดูแล และถอยออกมา มีเวลาทำงาน มีเวลาส่วนตัวบ้าง เพื่อให้มีช่วงเวลาผ่อนคลายจากความตึงเครียด
เครียดเมื่อไหร่? ต้องปรึกษาจิตแพทย์
หากเกิดความเครียด วิตกกังวล โทษตัวเองมากขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือทีมสหวิชาชีพที่ดูแลด้านสุขภาพจิตเพื่อประเมินอาการ และรับคำแนะนำเบื้องต้น
โรคซึมเศร้า นอกจากจะส่งผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้ว ยังมักมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือคนใกล้ตัว ซึ่งการดูแลผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้ความเข้าใจสูง เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ทุกคำพูดหรือการกระทำของครอบครัวและคนรอบข้างสามารถทำร้ายผู้ป่วยได้ง่ายๆ วิธีรับมือที่ดีจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้เร็วขึ้น เช่น การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน โดยสิ่งสำคัญในการชวนไปทำกิจกรรมต้องจำไว้ว่า หากผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม ห้ามบังคับเป็นอันขาด การทำกิจกรรมร่วมกันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และฟุ้งซ่านน้อยลง โดยกิจกรรมที่สามารถชวนผู้ป่วยทำได้เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว อาทิชวนกันไปออกกำลังกายง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้สมาธิมาก เช่น การวิ่ง การเดิน แอโรบิก ยิ่งช่วยให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้านอนหลับ และทานอาหารได้ดีขึ้น แถมการไปเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยยังช่วยให้รู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกด้วย
สังคมปัจจุบัน “โรคซึมเศร้า” อยู่ใกล้ตัวเราทุกคนอย่าตกใจหากใครพบว่าคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างสูงแต่ก็สามารถที่จะรักษาให้หายได้หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง โดยสิ่งสำคัญคือ กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง ต้องไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยต่อสู้เพียงลำพัง คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเสมอ ร่วมหาทางออกไปด้วย และอย่าลืมดูแลจิตใจของตัวเองให้พร้อมรับมือ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี