แม่น้ำเจ้าพระยาจากมุมสูง
งานวิจิตรเจ้าพระยา (Vijit Chao Phraya) เป็นงานเทศกาลแสง สี และเสียงสุดอลังการที่จัดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเฉลิมฉลองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ในวันที่๑๖ พฤศจิกายน-๑๕ ธันวาคม เวลา ๑๘.๐๐-๒๒.๐๐ น.นั้นเป็นงานที่เนรมิตบรรยากาศริมแม่น้ำให้เต็มไปด้วยแสง สี เสียงตระการตา ผสมผสานกับศิลปะ วัฒนธรรม และนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งจัดขึ้นบริเวณสถานที่สำคัญริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยคัดเลือกพื้นที่จัดการแสดงที่มีเอกลักษณ์และสะท้อนถึงความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมที่งดงามจากแนวของสายน้ำที่ ๑๕ จุดการแสดง ได้แก่ ๑.เจดีย์วัดคฤหบดี ๒.สะพานพระราม 8 ๓.หอนาฬิกาพิพิธภัณฑ์พิมุขสถาน (ศิริราช) ๔.วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ๕.อาคารสำนักงานราชนาวิกสภากองทัพเรือ ๖.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ๗.ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ๘.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ๙.อาคารสุนันทาลัย (โรงเรียนราชินี) ๑๐.สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) ๑๑.สะพานพระปกเกล้า ๑๒.ต้นไม้ใหญ่ ด้านหน้าร้านยกยอมารีน่า ๑๓.ตึกร้าง ซอยล้ง 1919 ๑๔. แนวต้นไม้ใหญ่ กระทรวงมหาดไทย (แห่งใหม่และ ๑๕.Iconsiam โดยแต่งแต้มสีสันแนวแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนด้วยนวัตกรรมแสง สี และสื่อผสมสมัยใหม่ ทั้ง Projection Mapping & Lighting ควบคู่กับการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ให้มีความทันสมัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวยามค่ำคืนอันอัศจรรย์และอยากเดินทางกลับมาอีกครั้ง เช่น การประดับไฟ การฉายภาพบนตัวอาคาร การแสดงพลุ การแสดงทางวัฒนธรรม ฯลฯ
แผนที่แม่น้ำสำคัญ
แม่น้ำเจ้าพระยามีต้นน้ำอยู่ที่ปากน้ำโพหรือเมืองชอนตะวัน (นครสวรรค์) สมัยสุโขทัยด้วยมีแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ บริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวตลาด ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว สายน้ำทั้งสองนั้น แม่น้ำน่าน มีสีค่อนข้างแดงและแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสายสำคัญของประเทศไทยไหลผ่านจังหวัดต่างๆ ของภาคกลางจนถึงกรุงเทพมหานครและออกอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ ๓๔๐ กิโลเมตร จุดชมต้นแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมที่สามารถเที่ยวทางเรือขึ้นไปแม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำวังและแม่น้ำน่าน ที่อยู่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานครได้มีการขุดคลองลัด ๓ ครั้ง ในสมัยอยุธยาคือคลองลัดบางกอก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๕ สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. ๒๐๘๑ สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๑๗๙ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่มีการศึกษากันในขณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีพัฒนาการทางสังคมที่แลเห็นได้ชัดเจนจากการตั้งถิ่นฐานและรูปแบบทางวัฒนธรรมเป็นบ้านเป็นเมืองมาประมาณ ๓,๕๐๐ ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นพัฒนาการที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายเข้ามาของกลุ่มชนต่างๆ จากภายนอก วัฒนธรรมในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เป็น ยุคโลหะเพราะคนในยุคนี้มีความรู้ในการถลุงโลหะธาตุ และนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับกันแล้ว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมากนั้นมีความรู้ในด้านนี้กลุ่มชนภายนอกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และยังพบว่ากลุ่มนี้ได้นำเอาเปลือกหอยทะเลชนิดต่างๆ จากทะเลลึก มาทำเป็นเครื่องประดับที่มีราคาและใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย
งานวิจิตรเจ้าพระยา 2567 จึงเป็นอีกหนึ่งงานเทศกาลที่น่าสนใจและพลาดไม่ได้สำหรับชาวกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์อันน่าประทับใจริมแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้ไปถึงสังคมวัฒนธรรมที่ฝรั่งหลายชาติได้เดินทางและบันทึกไว้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี