โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เผยว่า 10% ของจำนวนสุนัขที่มาโรงพยาบาลพบปัญหาโรคหัวใจ และพบว่าในสุนัขอายุมากมีปัญหาโรคหัวใจจากความเสื่อมถึง 60% ที่มักพบได้บ่อยคือ โรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม (Myxomatous mitral valve disease, MMVD) โดยพบประมาณ 75% ของสุนัขที่เป็นโรคหัวใจ รองลงมาได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยาย (Dilated cardiomyopathy, DCM) ซึ่งโรคหัวใจมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น จะแสดงอาการเมื่อโรคมีการพัฒนามากขึ้น เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และถึงแก่ชีวิตได้
ทั้งนี้ เจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการและพาสุนัขเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพ และตรวจหัวใจประจำปี จะช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และวางแผนหาแนวทางการดูแลรักษาได้ เพิ่มทางเลือกในการรักษานอกจากทางยา เช่น การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ หรือการผ่าตัดแก้ไขกรณีเป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด เพื่อช่วยลดภาระค่ายารักษาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะยาว ย้ำศูนย์โรคหัวใจของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง 3D Echocardiogram เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใกล้เคียงกับการรักษามนุษย์ และทีมสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคหัวใจ
สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กาญจนฉายา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อารักษ์ แอนิมัล เฮลท์แคร์ จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ กล่าวว่า “โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยในสุนัข ที่โดยส่วนใหญ่รักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลักและต้องรับยาไปตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการใช้การผ่าตัดในการรักษาโรคหัวใจบางประเภท อาทิ การซ่อมลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วในสุนัขกันมากขึ้น ซึ่งต้องใช้ทั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและความชำนาญ จึงอาจทำให้การผ่าตัดในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก แต่ด้วยความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจร เราจึงลงทุนด้านเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยและครบครันพร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์ด้านโรคหัวใจที่มีประสบการณ์ ให้ศูนย์โรคหัวใจของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนหาแนวทางและทางเลือกการรักษาโรคหัวใจเพื่อความปลอดภัยในการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของสัตว์เลี้ยง”
โรคหัวใจในสุนัขมีทั้ง ที่เป็นมาแต่กำเนิดจากพันธุกรรม และที่เกิดขึ้นภายหลังจากความเสื่อมของร่างกาย โดยแบบหลังมักพบในกลุ่มสุนัขอายุ 7-8 ปีขึ้นไป หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ คาวาเลียร์คิง ชาลส์ สแปเนียล ชิวาว่า ปอมเมอเรเนียน บีเกิล พุดเดิ้ลดัชชุน มอลทีส บอสตัน เทอร์เรียร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์โดเบอร์แมน และค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้โรคหัวใจในสุนัขจะเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง แต่หากตรวจพบได้เร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถชะลอความรุนแรงของโรค ทำให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว สุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 8 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจ (Heart Check Up) ร่วมด้วยโดยไม่ต้องรอให้แสดงอาการ โดยสัตวแพทย์จะวินิจฉัยหลายวิธีร่วมกัน ทั้งการฟังเสียงหัวใจ และการตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความทันสมัยและครบครัน ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายภาพเอกซเรย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงเครื่อง 3D Echocardiogram สำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจแบบ 3 มิติที่จะช่วยให้เห็นภาพโครงสร้างหัวใจได้อย่างชัดเจน เพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยและยังใช้ในการพิจารณาเคสที่สามารถรักษาด้วยแนวทางอื่นนอกจากการใช้ยาได้ โดยเจ้าของสามารถทราบผลการตรวจสุขภาพหัวใจได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ หากต้องการความชัดเจนของโครงสร้างหัวใจมากยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีความผิดปกติโดยกำเนิดอย่างภาวะเส้นเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus, PDA) หรือการตรวจก่อนการผ่าตัด ก็สามารถตรวจหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) ที่โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ได้เลยเช่นกัน
“อารักษ์มุ่งดำเนินการภายใต้แนวคิด Pet Humanizationตอบโจทย์กลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์เสมือนลูกหรือคนในครอบครัว เราจึงลงทุนในเครื่องมือการแพทย์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับการรักษาของคน ซึ่งจะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ลงลึกมากขึ้น ช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการรักษาให้กับเจ้าของและสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก” สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กล่าวเสริม
อย่างไรก็ตาม การตรวจเจอโรคได้เร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา เพียงดูแลควบคุมไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ด้วยการดูแลเรื่องอาหาร ควบคุมน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจทำงานหนัก ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ หรือหากตรวจเจอในระยะที่ต้องรักษาด้วยยาแล้ว การดูแลไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิตก็สามารถช่วยลดการใช้ยาได้ นอกจากนี้ โรคหัวใจบางประเภทยังมีทางเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งไม่เพียงมีแนวโน้มที่จะทำให้สุนัขหายจากโรคหัวใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายหรืออาจช่วยจบวงจรค่าใช้จ่ายยารักษาที่เจ้าของต้องจ่ายในทุกเดือนได้ด้วย
“การรักษาด้วยการใช้ยาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายราว 5,000-15,000 บาทต่อเดือน ไปจนตลอดชีวิตของสัตว์เลี้ยง การผ่าตัดจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เจ้าของสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ในระยะยาว การรักษาด้วยการผ่าตัดในประเทศไทยอาจยังไม่แพร่หลายมากนักด้วยข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่เป็นทางเลือกการรักษาที่หลายประเทศเริ่มหันมาทำกันมากขึ้น เนื่องจากการผ่าตัดมีแนวโน้มจะช่วยให้สุนัขหายหรือดีขึ้นจากโรคได้ ซึ่งศูนย์โรคหัวใจของอารักษ์มีความพร้อมในทุกด้าน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย นำเสนอแนวทางการรักษา ประเมินโอกาสความสำเร็จในการผ่าตัด อุปกรณ์ทางการแพทย์อันทันสมัย ห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐาน ทีมสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์และชำนาญการรักษาโรคหัวใจ ไปจนถึงพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรตามความต้องการของสัตว์เลี้ยง (Pet-Centric Design) เหมาะสมกับการพักฟื้น พร้อมทีมดูแลหลังผ่าตัดตลอด 24 ชั่วโมง” สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กล่าวปิดท้าย
เจ้าของสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง หรือมีอายุตั้งแต่ 7-8 ปีขึ้นไป ควรหมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมน้อยลง ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หรืออาเจียน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรรีบพามาพบสัตวแพทย์โดยเร็ว โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์เปิดให้บริการสัตว์เลี้ยงทั่วไปตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการศูนย์โรคหัวใจและคลินิกพิเศษอื่นๆ โดยสัตวแพทย์ผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ หรือนัดหมายบริการได้ที่ โทรศัพท์ 02-1069977 เว็บไซต์ https://arakanimal.com Line OA @arakanimal หรือ https://www.facebook.com/ArakAnimalHospital
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี