องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกได้ประกาศรับรองให้ “ต้มยำกุ้ง” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ตามที่ประเทศไทยเสนอที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19(The nineteenth session of the IntergovernmentalCommittee for the Safeguarding of theIntangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมณ กรุงอะซุนซิออน สาธารณรัฐปารากวัยหรือตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม เวลาประมาณ02.10 น. ตามเวลาประเทศไทย มีมติรับรองให้ “ต้มยำกุ้ง” ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโกแล้วจำนวน 4 รายการ ได้แก่ โขน นวดไทยโนรา และประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยโดย ต้มยำกุ้ง จะถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้รายการที่ 5 ของไทยยูเนสโก กล่าวถึง ต้มยำกุ้ง ว่า เป็นอาหารแบบดั้งเดิมของประเทศไทย โดยกุ้งจะถูกนำไปต้มกับสมุนไพรและปรุงรสด้วยเครื่องปรุงท้องถิ่น น้ำซุปมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีสีสันสดใส และผสมผสานรสชาติได้หลากหลาย เช่น รสหวาน เปรี้ยว เผ็ด มันและขมเล็กน้อย เชื่อกันว่าอาหารจานนี้ช่วยส่งเสริมพลังงานและสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุม นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมภูมิปัญญาการทำอาหารของชุมชนชาวพุทธที่อาศัยริมแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย และความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสมุนไพร
รมว.วธ. ประธานพิธี
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าว มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก ผสมเค็มและหวานเล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือต้มยำน้ำใส และต้มยำน้ำข้น ไม่มีหลักฐานบอกถึงการกำเนิดของอาหารชนิดนี้ให้แน่ชัด
สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนถึงต้มยำกุ้งไว้ว่า “เมื่อรับ “ข้าวเจ้า” จากอินเดียเข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามัน และศาสนาพราหมณ์-พุทธ ทำให้ “กับข้าว” ของไทยได้เปลี่ยนไปเริ่มมี “น้ำแกง” ขึ้น จึงมีน้ำแกงหลากหลายทั้งแกงน้ำข้นใส่กะทิแบบอินเดีย กับแกงน้ำใสแบบจีน ในปทานุกรม การทำของคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยามพ.ศ.2441 มีสูตร ต้มยำกุ้งทรงเครื่องซึ่งดูจะแตกต่างมากจากต้มยำกุ้งในปัจจุบัน ระบุว่า “…เนื้อหมูต้มแล้วฉีกหนักสามบาท ปลาใบไม้เผาแล้วทุบฉีกสองบาท ปลาแห้งเผาแล้วฉีกสองบาท กระเทียมดองปอกเอาแต่เนื้อซอยสามบาท แตงกวาปอกเปลือกแล้วซอยสามบาทมะดันซอยสามบาท พริกชี้ฟ้าหั่นหนึ่งบาท ผักชีเด็ดหนึ่งบาท…” ส่วนวิธีทำระบุว่า “เอากุ้งสดมาต้มกับน้ำท่า ใส่น้ำปลาหนักสองบาท ต้มไปจนเนื้อกุ้งสุก…ตักเอาน้ำต้มกุ้งสามสิบแปดบาทใส่ลงในชามแล้วเอากุ้งปอกเอาแต่เนื้อฉีกเป็นฝอยหนักสี่บาท น้ำกระเทียมดองหนึ่งบาทน้ำปลาเจ็ดบาท น้ำตาลทรายหกสลึงใส่ลงในน้ำต้มกุ้ง แล้วเอาของที่ชั่งไว้ใส่ลงด้วย…ถ้าไม่เปรี้ยว เอาน้ำมะนาวเติมอีกก็ได้ เมื่อรศดีแล้วเอาพริกชี้ฟ้ากับผักชีโรย เปนใช้ได้” ในหนังสือ ของเสวย พ.ศ.2507 ตำรับอาหารจากหม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร เล่าว่า ต้มยำกุ้งนั้นคล้ายคลึงกับสูตรต้มยำกุ้งที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
เชพต้มยำกุ้ง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี