คุณเคยรู้สึกว่าคนใกล้ชิดของคุณดูเหมือนจะไม่ใช่คนเดิมหรือไม่ อาจฟังดูเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ แต่มีภาวะทางจิตเวชหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าคนใกล้ชิดของพวกเขาถูกแทนที่ด้วยคนอื่นที่มีรูปลักษณ์เหมือนกัน ภาวะนี้เรียกว่า แคปกร้าส์ ซินโดรม (Capgras syndrome)
พญ.ปัทมาพร ทองสุขดี จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH-Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า แคปกร้าส์ ซินโดรม(Capgras syndrome) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก ผู้ป่วยที่มีอาการนี้จะมีความเชื่อว่าคนที่รู้จักหรือใกล้ชิด เช่น ครอบครัว คู่รัก หรือเพื่อน ถูกสลับตัวและกลายเป็น “คนอื่น” หรือเป็น “ตัวปลอม”ที่มีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนกับคนรู้จักทุกอย่างแต่ผู้ป่วยจะเชื่อว่านี่ไม่ใช่คนรู้จักหรือคนใกล้ชิดจริงๆ ส่งผลให้เกิดความสับสน ความไม่ไว้วางใจ และความวิตกกังวลอย่างรุนแรงในชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการเด่นดังนี้ รู้สึกไม่ไว้วางใจและหวาดระแวง : ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่กับบุคคลที่ตนเชื่อว่าเป็นตัวปลอม
การปฏิเสธบุคคลใกล้ชิด : แม้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องจะพยายามยืนยันตัวตนอย่างไร ผู้ป่วยก็จะปฏิเสธและยืนยันว่าเป็นคนละคน
อารมณ์แปรปรวนและมีความรู้สึกไม่มั่นคง : ผู้ป่วยอาจรู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวล หรือเศร้าโศก เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในความรู้สึกได้
สาเหตุของแคปกร้าส์ ซินโดรม ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่เชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางโครงสร้างและการทำงานของสมองหลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการจดจำ การรับรู้ใบหน้า อารมณ์ และอาจมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์, การบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมอง และความเครียดรุนแรงหรือการเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบการคิดและรับรู้
การรักษามักจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการหลงผิดและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้ การใช้ยายาที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเภท เช่น ยาต้านจิตเวช อาจช่วยลดอาการหลงผิดและความวิตกกังวล โดยจิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและกำหนดวิธีการใช้ยาอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
การบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) หรือการบำบัดด้านพฤติกรรมและความคิด สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีรับมือกับความคิดที่ผิดเพี้ยนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ทั้งนี้ การรักษาผู้ป่วยโรคแคปกร้าส์ ซินโดรมมักต้องใช้เวลาและการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการได้รับการสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการที่สงสัยว่าเป็นแคปกร้าส์ ซินโดรม ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี