บพท.นำทัพนักวิจัยคว้า รางวัล 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ในเวทีระดับนานาชาติ “KIDE 2024” ที่ไต้หวัน
ยังคงเดินหน้าคว้ารางวัลอันทรงเกียรติให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เมื่อ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ร่วมกับ เบญจมาศ ตีระมาศวณิช คณะกรรมการพิจารณา ติดตามและประเมินผล กรอบการวิจัยฯ, ดารารัตน์ โพธิ์รักษา รักษาการ ผอ.ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งของชุมชน และ รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการกรอบวิจัยชุมชนนวัตกรรม คัดเลือก 3 ผลงานภายใต้กรอบการวิจัย ส่งเข้าประกวดในเวทีระดับนานาชาติ การประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวดและจัดแสดง ในงาน "2024 Kaohsiung International Invention and Design EXPO" (KIDE 2024) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน ระหว่างวันที่ 6 -7 ธันวาคม 2567
ภายในงานดังกล่าวมีผลงานร่วมส่งเข้าประกวดกว่า 500 ผลงาน จาก 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งผลงานที่ได้รับสนับสนุนทุนจากหน่วย บพท. กวาดรางวัลทั้ง 3 ผลงาน ได้แก่
-รางวัลเหรียญทอง GOLD MEDAL “แม่อิงชิโบริ ศิลปะ งานคราฟ สีย้อมผ้าธรรมชาติ” (Mae Ing Shibori : The Art and Craft of Natural Dyed Fabrics) โดย เอกรินทร์ ลัทธศักย์ศิริ, ธัญญา อินต๊ะมอย, ผศ.ดร.กัลยา จำปาทอง, ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ และศ.ดร. เสมอ ถาน้อย จากมหาวิทยาลัยพะเยา
แม่อิงชิโบริ เป็นการย้อมสีธรรมชาติด้วยภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิมร่วมกับศาสตร์และศิลป์ของญี่ปุ่นที่เป็นสากล ผสานกับองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และยังผสมผสานกระบวนการจัดทำลวดลายด้วยเทคนิคพิมพ์ลายผ้า เกิดลวดลายอัตตลักษณ์ของแต่ละชุมชน และขยายผลไปยังอีก 10 ชุมชนเพื่อให้มีรายได้ที่ยั่งยืน ในขณะที่ carbon footprint ลดลงด้วยการใช้พืชและทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับการย้อมและทำซ้ำตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
-รางวัลเหรียญเงิน Silver MEDAL และรางวัล Special Award จากประเทศโปแลนด์ “เครื่องเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิจากโอ่งมังกร” (Efficient Mushroom Cultivation Innovation) โดย ผศ.ดร.ศิวัตม์ กมลคุณานนท์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เครื่องเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้การสร้างความชื้นที่มีอุณหภูมิต่ำ ถ่ายเทความร้อนระหว่างอนุภาคของไอน้ำและอากาศในโรงเรือน ทำให้อากาศในโรงเรือนเย็นลงไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส สามารถผลิตเห็ดในและนอกฤดูกาลได้ ผลผลิตสูงขึ้นและเพิ่มรายได้ของคนในชุมชน
-รางวัลเหรียญเงิน Silver MEDAL “บ้านปลามีชีวิต” (aquatic life sheltr) โดย ผศ.ดร.เตือนตา ร่าหมาน จากมหาวิทยาลัยทักษิณ
บ้านปลามีชีวิตเป็นนวัตกรรมใช้สำหรับการงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีลักษณะเป็นคอกสี่เหลี่ยมเหมือนชั้งกอ แต่มีการปลูกต้นโกงกางที่มุมทั้งสี่และตรงกลาง 1 ต้นไว้ในท่อซีเมนต์ ซึ่งใส่ดินเลนไว้ด้านใน เมื่อต้นโกงกางนี้โตขึ้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ มีอายุการใช้งานที่นานกว่าบ้านปลาแบบเดิม และลดการซ่อมแซม ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้ปลาเพิ่มจำนวนและชนิดมากขึ้น ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้งาน แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
ในปี 2568 บพท.มุ่งเน้นขยายผลต่อยอดนวัตกรรมพร้อมใช้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากงานวิจัยให้กับครัวเรือนในชนบท กลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ขับเคลื่อนการพัฒนาสร้างยกระดับกลุ่มเป้าหมายที่มีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง และสร้างพื้นที่การเรียนเรียนรู้นวัตกรรมชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจัดการแก้ปัญหาคนจนและความเหลื่อมล้ำ การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากทั้งภาคชนบทและเมืองให้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน การส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติจึงเป็นจุดเริ่มต้น ในการขยายผล Technology เชิงบูรณาการ ยกระดับ Appropriate Technology ระดับชาติและนานาชาติ ยกระดับ AppTech จากกลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ เพิ่มมูลค่าการส่งออกและยกระดับศักยภาพธุรกิจเชื่อมโยงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดนานาชาติ
งาน "2024 Kaohsiung International Invention and Design EXPO" (KIDE 2024) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน เป็นการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่ได้รับการยอมรับระดับสากลในแถบภูมิภาคเอเชีย เน้นนวัตกรรมและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีสีเขียว ซึ่งการที่ประเทศไทยได้รับรางวัลจากเวทีนี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งมีผลดีต่อการขยายผลผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีมาตรฐาน การสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานดังกล่าวจึงเป็นโอกาสในการแสดงศักยภาพของนวัตกรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการร่วมมือและการสนับสนุนจากนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคต เป็นการเปิดช่องทางสำหรับการเข้าสู่ตลาดโลก เพิ่มโอกาสให้ผู้พัฒนานวัตกรรมพบกับพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าใหม่ๆ และยังเป็นแรงจูงใจให้ผู้คิดค้นพัฒนาผลงานต่อไป
#บพท. #ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน #นวัตกรชุมชน #Sitevisit2566 #เทคโนโลยีพร้อมใช้ #Appropriate_technology #ชุมชนนวัตกรรมเเห่งการเรียนรู้ #Learning_Innovation_Platform #Learning_and_Innovation_Community
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี