ทำบุญวันส่งท้ายปีเก่า
ด้วยเหตุที่ปลายปีในช่วงเดือนธันวาคมนั้นเป็นเดือนของการถอยหลัง ก้าวจาก “วันสิ้นปี”สู่วันปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงวันที่มีการเฉลิมฉลองการส่งท้ายปีเก่าโดยเฉพาะผู้นับถือศาสนานั้นต่างให้ความสำคัญของวันส่งท้ายปีเก่ากันมากวันสิ้นปี คือวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และเป็นวันหยุดของทางราชการและเอกชนที่หยุดต่อเนื่องไปถึงวันปีใหม่ด้วยในประเทศไทยนั้นทางการได้กำหนดวันที่31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการ เพื่อที่ค่ำคืนของวันนี้ประชาชนจะได้ฉลองและมีการจัดงานนับถอยหลังเพื่อก้าวเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืน สำหรับวันสิ้นปีของประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันหยุดของหน่วยงานราชการ ธนาคาร บริษัทต่างๆ แล้ว ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากความบันเทิงแล้ว การสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคลในค่ำคืนแห่งคืนสุดท้ายของปีจนไปถึงวันปีใหม่นั้นถือเป็นนิมิตหมายของการตั้งใจทำความดีของผู้ร่วมกิจกรรมวันส่งท้ายปีใหม่ด้วยเช่นเดียวกับวันสิ้นปีทั่วทั้งโลกซึ่งจะมีการจัดงานนับเคาท์ดาวน์เพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ในค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม ต่างถือตามปฏิทินเกรกอเรียนที่ได้ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน จนใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศตะวันตก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2125 ได้ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 ซึ่งวันสิ้นปีของแต่ละสมัยประเทศ เวลาจึงแตกต่างกัน แต่ละประเทศได้มีการเฉลิมฉลองเช่นกัน
สำหรับชาวญี่ปุ่น เชื่อว่าวันสิ้นปีจะมีเทพเจ้ามาเยือน ทุกคนจึงให้ความพิเศษในวันส่งท้ายปีเก่า ถือเป็นการรวมญาติสิ้นปีด้วยในศิลาจารึกว่า สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนั้นได้นับปีตามปีมหาศักราชโดยใช้ปฏิทินจันทรคติต่อมาในพญาลิไท สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เปลี่ยนมาใช้จุลศักราช ให้วันเถลิงศกเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ก็ยังคงใช้ปฏิทินจันทรคติตามเดิม ทางพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์ยังนิยมใช้เทียบปีในรูปแบบพุทธศักราช จนมีวันเปลี่ยนปีขึ้นจุลศักราชใหม่ตามปฏิทินสุริยคติแบบสุริยยาตร จึงให้วันเถลิงศก ตรงกับวันที่ 15 เมษายนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนปีนักษัตรให้นับเปลี่ยนปีตามปฏิทินจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 แทน
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียนแทน ในปี พ.ศ.2431 ซึ่งถือเป็นปฏิทินสากล ที่ใช้กันเกือบทั่วโลกในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วันตามปฏิทินสากล จากทั้งหมด 12 เดือน ในหนึ่งปี วันตามปฏิทินสากลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ตั้งชื่อเดือนซึ่งสมัยนั้นยังถือว่าเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปีและเดือนมีนาคม คือเดือนสุดท้ายของปี และยังคงใช้รัตนโกสินทรศกโดยใช้1 เมษายน ร.ศ.108 แทนที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้งด้วยมีการยกเลิกใช้ปีรัตนโกสินทรศกที่ 131 จึงได้เปลี่ยนเป็นปีพุทธศักราช (พ.ศ.) อย่างเป็นทางการ โดยปีพุทธศักราชแรกที่ใช้ คือ ปี พ.ศ.2456 เมื่อทำการปรับเปลี่ยนปฏิทินจึงได้ปรับเปลี่ยนให้ วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 จนถึงปัจจุบันกิจกรรมที่นิยมทำกันทุกปี ได้แก่ การทำบุญตักบาตรพระปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด เข้าร่วมพิธีเคาท์ดาวน์ (countdown) นับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่และสวดมนต์ข้ามปี ปี ๒๕๖๗ นี้สถานที่ต่างๆ กรมการศาสนาได้จัดขึ้นในวัดและสถานที่สำคัญทั่วประเทศ ในกรุงเทพฯนั้นจัดงานทุกปีก็คือที่ท้องสนามหลวง และวัด ชุมชนและศูนย์การค้าต่างๆ ดังเห็นกิจกรรมเที่ยว ๑๑ วัดการทำบุญตามวัดต่างๆ และมีแสงไฟตระการตาจากสนามหลวงที่มีพระเขี้ยวแก้วมาสักการบูชาให้สว่างไสวงดงามด้วยแสง สี เสียง ที่มีคอนเสิร์ต ของเหล่าดารา ศิลปิน นักร้อง ร่วมให้ความบันเทิงและนับถอยหลังไปพร้อมๆ กัน เป็นคืนที่มีพลุสวยงามที่สุด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี