พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วังหน้า
ก่อนวันสิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่นั้น ตามอุดมคติตามแนวของมหาบุรุษ ผู้บำเพ็ญบารมีพร้อมสมบูรณ์กอปรด้วยความงาม ตามสุนทรียภาพหรือความรู้สึกถึงความงดงามของช่างฝีมือแต่ละยุคสมัย พระพุทธรูปแต่ละองค์ที่สร้างขึ้น ต่างมีคุณลักษณะเปี่ยมด้วยสรรพสิริสวัสดิมงคลต่างๆ อันเป็นเครื่องน้อมนำให้พระพุทธศาสนิกชนยึดมั่น ศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกุศโลบายให้ตรึกถึงพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอันเป็นหนทางพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร
เนื่องในเทศกาลปีใหม่ คติการสร้างพระพุทธรูป เป็นการสร้างขึ้นเพื่อแทนคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ (มีคุณด้วยความเมตตากรุณาต่อสัตว์โลก) พระวิสุทธิคุณ มีคุณด้วยจิตวิสุทธิ์ และพระปัญญาธิคุณ มีคุณด้วยปัญญา แม้ว่าพระพุทธรูปจึงเป็นองค์แทนมิใช่รูปเสมือนจริง แต่การสร้างกิจกรรมสักการะขึ้นเมื่อ ๒๕๖๘ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครได้จัดกิจกรรมพิเศษสักการะพระพุทธรูปที่กอปรด้วยพุทธศิลป์อันงดงาม มีประวัติความเป็นมาจากนครโบราณต่างๆ ของไทย โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นพระประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๔ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จำนวน ๑ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘
นายพลภูมิ รมวชวัฒนธรรม
สำหรับปีนี้ พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วยการอัญเชิญพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์อันงดงาม มีประวัติความเป็นมาจากนครโบราณต่างๆ ของไทย โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษาณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน๔ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จำนวน ๑ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ประกอบด้วย
(๑.) พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๒.) พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองเชียงใหม่ ศิลปะล้านนาพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ (๓.) พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม ๒ พระหัตถ์ เมืองลพบุรี ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ (๔.) พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองสรรคบุรี ศิลปะลพบุรีก่อนอยุธยาแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ พุทธศตวรรษที่ ๑๙(๕.) พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เมืองสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐(๖.) พระพิมพ์ลีลาในซุ้มเรือนแก้ว (พระกำแพงศอก) เมืองสุพรรณบุรี ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (๗.) พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยาตอนต้นแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ พุทธศตวรรษที่ ๒๐(๘.) พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองนครศรีธรรมราช ศิลปะอยุธยา สกุลช่างนครศรีธรรมราช พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒(๙.) พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์เมืองพิษณุโลก ศิลปะอยุธยาตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ (๑๐.) พระชัยเมืองนครราชสีมา เมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ซึ่งชาวพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปสำคัญนี้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงวันที่อาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๘ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายพนมบุตรจันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร ได้ร่วมสักการะกันพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “นบพระปฏิมา ๙ นครามหามงคล ๒๕๖๘” เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครก่อนเปิดให้ประชาชนมีโอกาสสักการะพระพุทธรูปสำคัญกว่า ๖๐๐-๗๐๐ ปี ในวันมหามงคลแห่งปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี