ยานอวกาศ พาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe - PSP) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศ หรือนาซา ของสหรัฐฯ สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทางใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์ได้รับสัญญาณจากยานดังกล่าว ก่อนเวลาเที่ยงคืนวันที่ 26 ธันวาคมตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับ 12.00 น.ของวันที่ 27 ธันวาคม ตามเวลาในไทย หลังจากขาดการติดต่อนานหลายวันระหว่างที่ยานบินผ่านดวงอาทิตย์ที่ร้อนระอุ
นาซา ระบุว่า ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ ปลอดภัย และปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ หลังจากเคลื่อนผ่านห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 6.1 ล้านกิโลเมตร
ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ ทะยานขึ้นสู่ชั้นอวกาศในปี 2561 โคจรผ่านดวงอาทิตย์ไปแล้ว 21 ครั้ง และเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะพุ่งเข้าไปในชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ในคืนคริสต์มาสอีฟ โดยต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่โหดร้ายและการแผ่รังสีที่รุนแรง ยานอวกาศลำนี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 692,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 980 องศาเซลเซียส
นาซา บอกว่า การศึกษาดวงอาทิตย์แบบใกล้ชิดนี้ ช่วยให้ยาน พาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ สามารถวัดค่าต่าง ๆ ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจได้ดีขึ้นว่า สสารในบริเวณนี้ได้รับความร้อนถึงหลายล้านองศาได้อย่างไร พร้อมทั้งติดตามต้นกำเนิดของลมสุริยะ และค้นพบว่าอนุภาคพลังงานสูงถูกเร่งความเร็วให้ใกล้ความเร็วแสงได้อย่างไร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี