โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease : GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้าง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ
อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก และโรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease : GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน เกิดจากความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานเคลื่อนตัวลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด
รวมทั้ง โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ และการตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงรวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
โรคกรดไหลย้อน มักเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากจนใช้ชีวิตลำบาก แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดเพื่อรักษาให้หายขาด แต่ในปัจจุบัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีเทคโนโลยีเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นแห่งแรกใน Southeast Asia
Transoral Incisionless Fundoplication หรือ TIF เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการซ่อมแซมหูรูดกระเพาะอาหารจากด้านใน โดยการใส่อุปกรณ์เข้าทางปาก เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยไม่ต้องผ่าตัด
TIF เหมาะผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนและรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล ผู้ที่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดกรด เช่น กระดูกเปราะบางหรือหักง่าย การติดเชื้อในทางเดินอาหารบางประเภท ค่าไตหรือเกลือแร่ผิดปกติ ผู้ที่ไม่อยากรับประทานยาลดกรดเป็นระยะเวลานานเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงของยาในระยะยาว ผู้ที่เคยผ่าตัดรักษาโรคกรดไหลย้อนแล้วกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนโดยไม่มีโรคหลอดอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคการขยับตัวผิดปกติของหลอดอาหาร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี