รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล นายแพทย์นักวิจัยผู้นำทางด้านนวัตกรรมศาสตร์ชะลอวัยและแพทย์ทางเลือก สร้างชื่อเป็น 1 ใน 18 ผู้ทรงเกียรติจากทั่วโลก ที่ได้รับรางวัล Gusi Peace Prize International Awards 2024 หรือ “รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย” สาขาการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ พิธีรับรางวัลจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่โรงละครเมโทรโพลิแทกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรจากหลากหลายสาขาที่มีส่วนสนับสนุนสันติภาพโลกและความก้าวหน้าของมนุษยชาติอย่างสำคัญ
รางวัลกูซีเพื่อสันติภาพ (Gusi Peace Prize) ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ ผ่านพระราชกฤษฎีกาหมายเลข 1476 ลงนามโดยอดีตประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2551 กำหนดให้วันพุธที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันมิตรภาพนานาชาติรางวัลกูซีเพื่อสันติภาพ” โดยประเทศไทยมีบุคคลสำคัญที่ได้รับการยกย่องจากรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ได้แก่ นายแพทย์กำพล ศรีวัฒนกุล (พ.ศ.2567)-สาขานวัตกรรมทางการแพทย์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) (พ.ศ.2558)-สาขาการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม สุรภี โรจนวงศ์ (พ.ศ.2552)-สาขาเศรษฐกิจและมรดกทางวัฒนธรรม ดร.เทพ พงษ์พานิช (พ.ศ.2550)-สาขาการวิจัยและการศึกษาด้านการเกษตร ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา (พ.ศ.2553)-สาขานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาคุณค่าของมนุษย์ และล่าสุด พ.ศ.2567 รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ในสาขาการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์
Barry Gusi ประธานมูลนิธิรางวัลสันติภาพ Gusi เปิดงานด้วยคำปราศรัยที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการส่งเสริมสันติภาพผ่านการสนับสนุนที่หลากหลายในสาขาต่างๆ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจ ศิลปะ และงานด้านมนุษยธรรมปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของมูลนิธิในการเชิดชูผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติทั้ง 18 คน จากทั่วโลก
รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล นายแพทย์นักวิจัยผู้นำทางด้านนวัตกรรมศาสตร์ชะลอวัยและแพทย์ทางเลือกมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนโบราณผนวกกับนวัตกรรมทางด้านการแพทย์ อีกทั้งแพทย์ทางเลือกในการรักษาโรคต่างๆ เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสันสโตรก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิคการฟื้นฟู ทั้งนี้ รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล มุ่งมั่นที่จะประยุกต์ใช้งานวิจัยของตนเองในทางปฏิบัติ โดยมักจะทดสอบการบําบัดแบบใหม่กับตัวเองเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพก่อนนําไปใช้ในวงกว้าง การอุทิศตนของ รศ.ดร.นพ.กำพล ไม่เพียงแต่พัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับความไว้วางใจและนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย
อีกทั้ง รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุลยังเป็นตัวอย่างที่ดีของนักวิจัยทางการแพทย์ทางเลือกและศาสตร์ชะลอวัย ที่สรรค์สร้างโปรโตคอลด้านสุขภาพ ทําหน้าที่เป็นผู้บูรณาการและค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้การแพทย์ทางเลือกไทยและศาสตร์ชะลอวัยให้เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ระดับโลก
รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล กล่าวในขณะขึ้นรับรางวัลว่า “ด้วยกระผมได้รับเกียรติจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ ประธานและคณะกรรมการทุกท่าน รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นที่ได้รับคัดเลือกรับรางวัลอันทรงเกียรติ ผู้มีคุณูปการทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดระยะเวลาหลังจากได้รับการศึกษาทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผมได้ทุ่มเทการวิจัยทางการแพทย์ ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่องานวิจัย นวัตกรรมทางการแพทย์ โดยยึดมั่นคำสอนที่ได้จากคุณพ่อคุณแม่ในความจริงที่ว่า “ปราศจากความซื่อสัตย์ จะไม่มีความเชื่อใจ ปราศจากความไว้เนื้อเชื่อใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความรัก จะไม่มีอะไรใดใดเกิดขึ้นในโลกนี้”ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นและตั้งใจจะทำทุกอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ทำให้มุ่งมั่นยังคงศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า วิจัย นวัตกรรมทางการแพทย์ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่ม โดยเฉพาะแพทย์ทางเลือก
และในวันข้างหน้า แม้จะอายุ 80 ปีผมยังคงตั้งใจจะทำทุกอย่างให้ดีกว่าวันนี้ และจะไม่เสียเวลาแม้แต่นาที และยังจะคงมุ่งมั่นค้นหาวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียแม้แต่ 1 ชีวิต โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า การหาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคดีกว่ามารักษา โดยเฉพาะโรคที่คร่าชีวิตคนในปัจจุบันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และโรคอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์ให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น โดยนวัตกรรมทางการแพทย์หาทางป้องกันและลดความสูญเสียของชีวิตมนุษย์เท่าที่ทำได้ และอยากทำให้โลกนี้เป็นโรคที่น่าอยู่กว่าเดิมจากนี้และตลอดไป อีกทั้งจะเป็นตัวกลางในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น Sand Box เป็นศูนย์กลางในการรักษาแพทย์ทางเลือกและศาสตร์ชะลอวัย”
รางวัลกูซีเพื่อสันติภาพ (Gusi Peace Prize) นับเป็นรางวัลทรงเกียรติระดับนานาชาติที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการยกย่องให้เป็น “รางวัลโนเบลแห่งเอเชีย” โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงมะนิลา และได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งฟิลิปปินส์ รางวัลอันทรงเกียรตินี้ก่อตั้งขึ้นจากปณิธานของ ร้อยเอกเฆเมเนียโนฮาเวียร์ กูซี (Captain Gemeniano Javier Gusi) วีรบุรุษผู้ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งภายหลังได้อุทิศตนเพื่องานด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีภริยาคือ มาดาม เทโอดอรา โซเตโฮ กูซี (Madame Teodora Sotejo Gusi) เป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ในการช่วยเหลือสตรี เด็ก ผู้ป่วย และผู้ด้อยโอกาสในสังคมฟิลิปปินส์ ปัจจุบัน นายแบร์รี่ กูซี (Barry Gusi)บุตรชายผู้สืบสานเจตนารมณ์ของบิดามารดา ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิรางวัลกูซีเพื่อสันติภาพ โดยได้ขยายวิสัยทัศน์ของมูลนิธิสู่ระดับนานาชาติ
รางวัล Gusi Peace Prize 2024 มอบรางวัลให้แก่บุคคลผู้โดดเด่นที่มีผลงานต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นแบบอย่างของอุดมคติแห่งสันติภาพ ความก้าวหน้า และความรับผิดชอบต่อสังคม งานนี้ซึ่งเรียกกันว่า “รางวัลโนเบลแห่งเอเชีย” ได้รวบรวมบุคคลสำคัญจากทั่วโลกมาเฉลิมฉลองความหลากหลาย นวัตกรรม และการบริการ
คืนแห่งรางวัลสันติภาพ Gusi 2024 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เป็นการพิสูจน์ถึงพลังของความสำเร็จของมนุษย์และจิตวิญญาณที่ยั่งยืนของสันติภาพและความร่วมมือ เมื่อผู้รับรางวัลเดินทางกลับประเทศของตน เรื่องราวและความมุ่งมั่นของพวกเขาจะทำหน้าที่เป็นประภาคารแห่งความหวัง สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ทำตามพวกเขาในการสร้างโลกที่สันติภาพและความก้าวหน้าไม่ใช่แค่เพียงอุดมคติแต่เป็นความจริง
อย่างไรก็ตาม รางวัลกูซีเพื่อสันติภาพ (Gusi Peace Prize) ยังคงดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมสันติภาพ การพัฒนามนุษย์ และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โดยการมอบรางวัลประจำปีจัดขึ้น ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ช่วงสิ้นปีของทุกปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี