พระธาตุดอยตุง
กระทรวงวัฒนธรรม โดยนางสาวสุดาวรรณหวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ได้สนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบาย “วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยเน้น“4 นโยบาย-3 แนวทาง-2 รูปแบบ-1 เป้าหมาย” โดยกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ประโยชน์สู่ประชาชน สนับสนุน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 เพื่อให้ทุกหน่วยรับงบประมาณนำไปกำหนดแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญ
ในการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙ นั้นได้มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนอันเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ รวมถึงให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งมอบหมายให้นำนโยบาย “วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมีกรอบแนวคิดขับเคลื่อนงาน คือ “4 นโยบาย-3 แนวทาง-2 รูปแบบ-1 เป้าหมาย” คือประกอบด้วย 4 นโยบาย ได้แก่ 1.ทุน การส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ 2.ระบบนิเวศ เสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม 3.คน เสริมพลังสร้างสรรค์ให้ “คน” เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรม และ 4.สินค้าและบริการพัฒนาและผลักดันสินค้าวัฒนธรรม และบริการทางวัฒนธรรมให้มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในตลาดโลก
พระพุทธสิหิงค์วังหน้า
โดยมี 3.แนวทาง ได้แก่ 1.เชื่อมโยงอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกับอุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ อาทิ วัฒนธรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมกับการเกษตร วัฒนธรรมกับการแพทย์ ฯลฯ 2.ร่วมมือบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานโปร่งใส ไม่โซโล ไม่ซ้ำซ้อน และ3.ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความยั่งยืน 3 มิติ คือประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชนการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และคุณค่าของวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ส่วน 2 รูปแบบ นั้นได้แก่ รักษาสิ่งเดิม และ เพิ่มเติมสิ่งใหม่ ด้าน 1 เป้าหมาย ก็คือเศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่ เศรษฐกิจเติบโต เร่งเพิ่ม GDP ด้านวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สังคมยั่งยืน เพิ่มจำนวนแรงงานทักษะสูงด้านวัฒนธรรมและเข้าสู่ระบบวิชาชีพและสู่เวทีโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นในปี 2570 เชื่อว่าจะเป็น 1 ใน 25 ประเทศที่มีอิทธิพลด้าน Soft Power ในมิติวัฒนธรรมนั้นได้ถูกนำมาใช้กับการสร้างชื่อเสียงแต่ละเมือง ท้องถิ่น ชุมชน จนเกิดกระแสธุรกิจการท่องเที่ยวและเที่ยววิถีไทยในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ดังปรากฏในโครงการเที่ยวชุมชนยลวิถี ของกระทรวงวัฒนธรรมทำกันมาหลายปีเพื่อค้นหาผลงานชาวบ้านที่สร้างผลิตภัณฑ์มาตรฐานและน่าสนใจมาสร้างเศรษฐกิจรายได้ในเมือง ท้องถิ่น ชุมชนนั้นๆ แม้จะพอเลี้ยงตัวจากอาชีพพื้นบ้านๆก็ยังทะลุทะลวงไปสู่ระดับนานาชาติไม่ได้ กลับกันผลงานที่ทำกันมากมายในแผนและโครงการต่างๆ นั้นมีจุดไหนว่าคุ้มค่าสมราคาการลงทุนหรือไม่ วันนี้ธุรกิจต่างๆ และแบรนด์ต่างชาติมีอิทธิพลเข้ามาเต็มเมือง โชคดีที่ประเทศนี้มีแหล่งท่องเที่ยวประเพณีหลากหลายพอแก้หน้าได้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี