อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) จับมือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดินหน้าพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านเครื่องมือแพทย์ มุ่งลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมยกระดับมาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ในประเทศ ภายใต้ “โครงการการพัฒนากลไกการใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านการแพทย์ผ่านการสร้างแผนงานด้านเทคโนโลยีและบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม” เพื่อมุ่งสนับสนุนให้นักวิจัยได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของตลาด อีกทั้งผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะในด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง อันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาประ เทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub)
ด้าน ผศ.ดร.ทินกร ปงธิยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ และในฐานะหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาใน 2 มิติหลัก คือ การสร้างแผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap) ที่เปรียบเสมือนแผนที่นำทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์แก่นักวิจัย และการบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubation) เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องมือแพทย์ ตั้งแต่การพัฒนาความคิดไปจนถึงการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งบริษัท Medical Device Tech Spin-off จากงานวิจัยและสามารถรองรับการเติบโตได้ทุกช่วงธุรกิจ โดยตั้งเป้าพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์นำร่องใน 7 เทคโนโลยี พร้อมสร้างทีมผู้บริหารที่มีศักยภาพทั้งในตำแหน่ง CEO และ CTO
“ปัจจุบัน ทีมอาจารย์นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ผู้พัฒนาเทคโนโลยี 3 ใน 7 ผลงาน” อันได้แก่ เครื่องวัดแรงดูดกลืนสำหรับทารก, ชุดอุปกรณ์ถ่ายภาพในช่องปากสำหรับวินิจฉัยรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งช่องปาก และชุดน้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยชนิดของพาหะอัลฟา-ธาลัสซีเมีย ผ่านการประเมินความพร้อมของเทคโนโลยี และการวางแผนพัฒนาภายใต้กฎหมายเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนการประเมินการลงทุนเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อให้เทคโนโลยีที่คิดค้นสามารถตอบโจทย์กับความต้องการในยุคปัจจุบัน และยังสามารถพัฒนาต่อยอดอย่างถูกทาง ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จที่มุ่งหวังของโครงการในครั้งนี้ โดยโครงการดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการลดการพึ่งพาการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 95 ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ภายในประเทศจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะช่วยให้ภาครัฐสามารถจัดสรรสวัสดิการสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืนอีกด้วย
ทั้งนี้ อาจารย์ นักวิจัย ที่สนใจอยากดันงานวิจัย นวัตกรรม ของตนเองทั้งด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ไปสู่เชิงพาณิชย์ สามารถเดินทางเข้ามาสอบถาม และบอกโจทย์ความต้องการของท่าน โดยตรงได้ที่ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ : 0 5394 8678
040
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี