ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้เป็นประธานเปิดกิจกรรมนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสินค้าและการบริการ ภายใต้โครงการการยกระดับศักยภาพชุมชนนักออกแบบเพื่อความยั่งยืน หรือ โครงการ Design Community ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
Design Community Project เป็นโครงการถ่ายทอดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไปสู่ชุมชนในพื้นที่เมืองเก่าเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองเก่าน่านจังหวัดน่าน เพื่อขับเคลื่อนชุมชนนักออกแบบในพื้นที่ที่ใช้การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการเพื่อสร้างเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชชิมา นราดิศร อธิการบดีมาหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้กล่าวถึงแนวทางของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่จะขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมที่กำลังอ่อนแรงให้ฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อความเป็นเป็นอยู่ที่ดี และอนาคตที่ยั่งยืน ในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้ทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนประเด็นความยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การทำงานในพื้นที่เชียงรายและน่านที่เป็นประตูสู่วงแหวนอารยธรรมลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมต่อ ลาว เมียนมา และสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เริ่มทำงานมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ต่อเนื่องจนถึงโครงการ Design Community Project ที่เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2563 ด้วยการสืบค้นรวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ICH) ตามแนวทางของยูเนสโก โดยมรดกภูมิปัญญาที่จัดเก็บนั้นเป็นภูมิปัญญาในการรักษาสิ่งแวดล้อมของผู้คนในเขตเมืองเก่าเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองเก่าน่านจังหวัดน่าน นำมาสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อให้ชุมขนสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ จากนั้น มหาวิทยาลัยไดนำแนวคิดการออกแบบพื้นถิ่นมาขับเคลื่อน Absorptive Capacity หรือการดูดซับเทคโนโลยี เพื่อยกระดับชุมชนนักออกแบบที่เริ่มในปีพ.ศ.2566 สามารถสร้างชุมชนนักออกแบบ ได้ 10 ชุมชน/กลุ่ม มีนักออกแบบพื้นถิ่นที่ได้รับการพัฒนา จำนวนกว่า 30 คน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและครือข่ายมากกว่า ร้อยละ 15 ต่อปี แม้ว่าโครงการจะยังไม่เสร็จสิ้น
โครงการ Design Community Project เป็นหนึ่งในหลายๆโครงการที่มหาวิทยาลัยใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี และอนาคตที่ยั่งยืน ของพื้นที่ในภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน โครงการนี้ได้ตอบภารกิจการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรมที่ใช้การบูรณาการ การวิจัย การผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการเข้าด้วยกันส่งผลต่อผู้คนที่เป็นผู้รับบริการอย่างชัดเจน และการทำงานนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ยกระดับเมืองเชียงรายไปสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก สาขาออกแบบ ที่ทำให้เมืองเชียงรายทั้งจังหวัดอยู่ในเวทีโลกได้
มหาวิทยาลัยจัดตั้งสถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขงขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจฟื้นทุนทางวัฒนธรรมไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน/เมือง เป็นหน่าวงานหลักดำเนินโครงการ Design Community Project ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้น และจะจัดตั้ง Design School สำหรับชุมชนขึ้นมาในปี 2568 เพื่อให้เป็นสถาบันการพัฒนานักออกแบบชุมชน ในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นต่อไป
มหาวิทยาลัยขอเชิญชมนิทรรศการ ดีไซน์ยั่งยืน พลิกฟื้นชุมชน
R e d e s i g n C u l t u r e , R e v i v e C o m m u n i t y
ผลงานจากโครงการ Design Community Project โดยสถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชิญชมนิทรรศการผลงานนักออกแบบชุมชน เพื่อขับขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยแนวคิด Vernacular Design ชุมชนนักออกแบบบทั้ง 10 ชุมชน จากเมืองเก่าเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองเก่าน่าน จังหวัดน่าน มาปล่อยของกลางกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี