การประมาณการนี้อิงการศึกษาใหม่ที่พบว่า ความเสี่ยงมีภาวะสมองเสื่อมในช่วงชีวิตหนึ่งนั้นสูงกว่าที่เคยคาดไว้ โดยผู้คนมีโอกาสป่วยภาวะสมองเสื่อมมากถึง 4 ใน 10 หากเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุ 55 ปี หากพวกเขามีอายุยืนยาวเพียงพอ อย่างไรก็ดี มีหลายขั้นตอนที่อาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมได้ อาทิ การควบคุมความดันโลหิตสูงและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ไม่ดีต่อสมอง และยังคงไม่สายเกินไปที่จะลองพยายามลดทอนความเสี่ยงนี้แม้เข้าสู่วัยกลางคน
โจเซฟ โคเรช จาก แลงโกน เฮลธ์ (Langone Health) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนการศึกษาดังกล่าวที่เผยแพร่ในวารสาร เนเจอร์ เมดิซีน (Nature Medicine)ระบุว่า การวิจัยทั้งหมดของพวกเขาชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ผู้คนทำในวัยกลางคนนั้นมีความสำคัญอย่างแท้จริง
โรคอัลไซเมอร์เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้มากที่สุด และการเปลี่ยนแปลงทางสมองที่เงียบงันซึ่งนำไปสู่โรคนี้ในที่สุดอาจเริ่มเกิดขึ้นในช่วง 20 ปีก่อนมีอาการ ส่วนภาวะสมองเสื่อมรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นเมื่อโรคหัวใจหรืออาการโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมอง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี