แพทย์เฉพาะทางเตือน โรคกระดูกสันหลังเสื่อมภัยเงียบที่มักจะเกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัย 50 ปีขึ้นไปซึ่งจะมีอาการปวดหลัง อาการปวดลงขา ถ้ามีการกดทับของเส้นประสาทร่วมด้วย อาจจะทำให้มีอาการชา รักษาช้าเสี่ยงพิการ
เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกายย่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น “กระดูกสันหลังเสื่อม” นับเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความทรมานในผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นภาระให้กับผู้ดูแลอย่างมาก
นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า สาเหตุการเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของข้อต่อ หรือ หมอนรองกระดูกสันหลัง ส่วนสาเหตุอื่นนอกเหนือจากอายุ ได้แก่ การใช้งานที่มากเกินไปเช่น ยกของหนัก อุบัติเหตุ ล้มซ้ำๆ ซึ่งทำให้กระดูกข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมได้ ซึ่งจะทำให้พบการเสื่อมของข้อต่อในคนอายุน้อยได้
สำหรับอาการของกระดูกสันหลังเสื่อมจะปรากฏอาการปวดคอ หรือปวดหลังซึ่งอาจเป็นๆ หายๆ แต่บางคนอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือบางครั้งอาการปวดอาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อม แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจากอาการที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังว่า มีอาการปวดตามแนวแกนกลางคอและหลังมากขึ้นเวลาแอ่นคอ หรือ หลัง ร่วมกับการตรวจร่างกายที่พบความผิดปกติ
สำหรับกระดูกสันหลังส่วนคอ แพทย์จะให้ผู้ป่วยหันศีรษะจากซ้ายไปขวา และให้แหงนศีรษะขึ้นและลง จะพบอาการปวดชาร้าวลงไปตามแขนจากเส้นประสาทที่ถูกกด การตรวจกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวนั้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยก้มลงหรือเคลื่อนไหวหลังและเอวไปในทิศทางต่างๆ ทั้งหมดนี้เพื่อทดสอบว่าการเคลื่อนไหวนั้นถูกจำกัดหรือไม่ ร่วมกับอาการปวดหรืออ่อนแรง เนื่องจากกระดูกสันหลังเสื่อมส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการใช้มือและการเดิน แพทย์อาจทดสอบมือ แขน ขาและเท้าของผู้ป่วยว่า มีกำลังมือที่อ่อนแรง ร่วมกับการทำกิจกรรมที่ต้องใช้รายละเอียดแม่นยำน้อยลง หากพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาต่อการตอบสนองที่อาจบ่งบอกถึงความเสียหายของเส้นประสาท แพทย์อาจต้องขอ X-ray ร่วมกับการทำ MRI เพื่อจะได้วินิจฉัยอาการ
แนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นมีหลายวิธีจากน้อยไปมาก เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการปวดไม่ว่าจะเป็นบริเวณคอ หรือหลัง เช่น ปวดหลังร้าวลงขา, ปวดคอร้าวลงแขน, มีอาการชา หรืออ่อนแรง บางรายปวดศีรษะ คล้ายกับเป็นไมเกรน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกเสื่อมที่เกิดจากกระดูกทับเส้นประสาท หากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้องผ่านการรักษาเบื้องต้นมาก่อน ดังนี้
เริ่มต้นจากกินยา ทำกายภาพบำบัด หากนานกว่า 6 สัปดาห์ แต่อาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้ กล้ามเนื้อขาลีบ หรือ แขน-ขาอ่อนแรงจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของ ใช้งานได้ไม่เหมือนปกติ หรือ เดินไม่ได้ ก็อาจมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ด้วยเทคนิคการรักษาสมัยใหม่ได้พัฒนานวัตกรรมจากการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มาเป็นการเจาะรูส่องกล้องซึ่งเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์ของกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic) ติดอยู่ ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาอยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็กเจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว หรือ MIS-Spine จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้เข้ารับการรักษา เพราะเพียง 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยและชี้ให้เห็นรอยโรคด้วยผล X-ray และ MRI ถึงจะวางแผนการรักษาไปพร้อมผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด แม่นยำ และปลอดภัย ดังนั้น วิธีการรักษานี้จึงเป็นที่นิยมของผู้ป่วยที่ต้องการกลับไปใช้ชีวิตตาม lifestyle ที่เคยเป็น เช่น กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัว คนที่รัก หรือทำในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่อยากทำ และไม่เป็นภาระให้กับคนใกล้ชิดได้เร็วยิ่งขึ้น
“นอกจากนี้ เราได้พัฒนางานวิจัยเพื่อยกระดับการรักษาด้านกระดูกสันหลังให้ทัดเทียมระดับโลก ทำให้ทีมแพทย์และบุคลากรในโรงพยาบาลมีความเชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังพร้อมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยเทคนิคการรักษาที่ต่างจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่า “มารักษากระดูกสันหลังที่ เอส สไปน์ ครบจบในที่เดียว” นพ.ฐปนัตว์ กล่าวทิ้งท้าย
สนใจขอรับคำปรึกษาได้ที่ โรงพยาบาลเอส สไปน์โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โทร.02-0340808
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี