ภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD : Posttraumatic Stress Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากการประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจจนเกิดความเครียดหรือความกลัวในระยะยาว อาการของ PTSD ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเหตุการณ์ที่ใหญ่หลวงอย่างการรบหรือภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่มีความรุนแรงหรือกระทบกระเทือนจิตใจได้อย่างไม่คาดคิด
โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง Posttraumatic stress disorder (PTSD) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์คุกคามที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่อันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะสงคราม อุบัติเหตุร้ายแรง ถูกทารุณกรรมถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นประสบการณ์โดยตรง หรือการพบเห็นเหตุการณ์นั้น จนทำให้ผู้ป่วยอาจเห็นภาพในอดีต ฝันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกวิตกกังวลโดยไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ โดยอาการจะค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จนอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
รู้จัก PTSD และอาการที่ควรระวัง
PTSD คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น อุบัติเหตุร้ายแรง การทำร้ายทางร่างกาย หรือการสูญเสียคนสำคัญในชีวิต เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้สมองของผู้ป่วยไม่สามารถประมวลผลได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดอาการที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาการของ PTSD ประกอบด้วยหลายด้าน เช่น อาการเลวร้ายจากการฝัน หรือการระลึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจในรูปแบบของฝันร้ายหรือภาพหลอน, อาการระแวดระวังสูง เช่น ความวิตกกังวลตลอดเวลา กลัวสิ่งที่ไม่รู้จัก หรือหลีกเลี่ยงสถานที่หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สะเทือนใจ,การหลีกเลี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงการพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่ทำให้เกิดความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น, ความรู้สึกซึมเศร้า เช่นการสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข หรือรู้สึกว่าไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิด PTSD
แม้ว่า PTSD จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ แต่บางกลุ่มก็มีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งรวมถึง บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่กู้ภัย : ผู้ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตและประสบกับความรุนแรงในหน้าที่, ทหารหรือทหารผ่านศึก : ผู้ที่เคยประสบกับสงครามหรือการต่อสู้ในสนามรบ, ผู้ที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการถูกทำร้าย : การถูกทำร้ายทางร่างกายหจิตใจอาจทำให้เกิด PTSD ได้, ผู้ที่สูญเสียคนใกล้ชิด : การสูญเสียบุคคลที่รักในเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุหรือการฆาตกรรม, ผู้ที่ประสบกับอุบัติเหตุร้ายแรง : เช่น การเกิดอุบัติเหตุทางถนนหรืออุบัติเหตุทางการทำงาน
แนวทางการรักษา PTSD
การรักษาด้วยยา โดยยาหลักคือกลุ่มยาต้านเศร้า จะให้ยาเท่ากับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า และควรให้ยานานอย่างน้อย 1 ปี
การรักษาด้วยจิตบำบัด เช่น ความคิดพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavior therapy) สิ่งสำคัญคือ การให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึก ความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เผชิญมาเท่าที่ผู้ป่วยต้องการโดยไม่ต้องลงรายละเอียดของเหตุการณ์ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงจากการรู้สึกว่าเหตุการณ์เกิดซ้ำ ช่วยแนะนำวิธีปรับตัวฝึกผ่อนคลาย ส่งเสริมให้ญาติมีส่วนช่วยเหลือประคับประคองผู้ป่วย วิธีบำบัดบาดแผลทางใจ (EMDR) ที่ให้ผู้ป่วยนึกถึงเหตุการณ์ไปพร้อมกับมองตามนิ้วมือของผู้รักษาที่เคลื่อนไหวไปมาตามขวาง และการบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับความกลัว ให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อีกครั้งผ่านการจินตนาการ
อย่างไรก็ตาม PTSD เป็นโรคที่เกิดจากการประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ซึ่งสามารถส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจในระยะยาว การเข้าใจอาการ การสังเกตและระบุกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที หากคุณหรือคนรอบข้างเริ่มแสดงอาการของ PTSD อย่ารอช้าที่จะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและกลับมาสู่ชีวิตที่สมดุลและมีความสุขอีกครั้ง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี