วว. ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันนักประดิษฐ์ พร้อมโชว์ผลงานนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ด้วย วทน.
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 ซึ่งส านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Event Hall 101 –104 ไบเทค บางนา โดยมีการแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า1,000 ผลงาน การมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ การเสวนาการฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการ มากกว่า100 หัวข้อ ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”
โอกาสนี้นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อ านวยการ วช. ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ คณะผู้บริหาร นักวิจัย วว. ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานเครือข่าย นักประดิษฐ์และนักวิจัยจากทั้งในและต่างประเทศ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ (วันที่2กุมภาพันธ์ 2568)
ในการนี้ วว. นำผลงานวิจัยนวัตกรรมจากการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการด้วย
และในโอกาสนี้ ดร.สิทธิพงศ์ สรเดช นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมสมุนไพร ได้เข้ารับ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงาน “โพลิเอทิลเลนิมีนเชิงเส้นและอนุพันธ์เพื่อเป็นวัสดุชีวภาพ (Biomaterials) และสารช่วย (Excipients) ที่มีศักยภาพสำหรับการนำส่งยา” (Linear Polyethyleneimine and Derivatives as Potential Biomaterials and Excipients for Drug Delivery)
นอกจากนั้น ดร.วรวัฒน์ ทรงกิตติ นักวิชาการ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ยังได้รับรางวัลดังกล่าว ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงาน “Investigation of On-Road Particulate Matter Characteristics from Brake Wear Mechanisms” ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะและปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยอนุภาคในละอองจากการเบรกยานยนต์ในสภาพการขับขี่จริง โดยใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างแบบไอโซคิเนติก (Isokinetic Sampling) ซึ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวัดค่าอนุภาค พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากอุณหภูมิการเบรกและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละออง
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี