คณะนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียประสบความสำเร็จในการสร้างตัวอ่อนจิงโจ้ผ่านกระบวนการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) เป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้า
ครั้งสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้
ผลการศึกษาที่เผยแพร่วันพฤหัสบดีที่ 6 ก.พ. ระบุว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้อธิบายกระบวนการสร้างตัวอ่อนจิงโจ้ สายพันธุ์อีสเทิร์นเกรย์ (easterngray) ด้วยการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่ที่เจริญเต็มที่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้กันทั่วไปในการปฏิสนธินอกร่างกายมนุษย์ที่เรียกว่าการฉีดอสุจิเข้าสู่เซลล์ไข่โดยตรง (ICSI)
อันเดรส แกมบินี ผู้นำการวิจัย กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งสำคัญนี้อาจช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ของออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึง
โคอาลา วอมแบท พอสซัม และแทสเมเนียนเดวิล โดยคณะนักวิจัยหวังว่าจะสามารถทำให้ตัวอ่อนจากกระบวนการนี้ลืมตาดูโลกสำเร็จภายในระยะเวลาสิบปี ปัจจุบัน คณะนักวิจัยกำลังปรับปรุงเทคนิคการเก็บ เพาะเลี้ยง และอนุรักษ์ไข่และอสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ทั้งนี้ คณะนักวิจัยเลือกใช้จิงโจ้ สายพันธุ์อีสเทิร์นเกรย์ เป็นหัวข้อการวิจัยเพราะพวกมันมีจำนวนมากเกินไป และการฉีดอสุจิเข้าสู่เซลล์ไข่โดยตรงไม่ต้องการเซลล์อสุจิที่มีชีวิตจำนวนมาก ต้องการเพียงอสุจิหนึ่งตัวฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการผสมพันธุ์เทียม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี