Boundless Pleasure
ในช่วงที่กระแสวัฒนธรรมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัดและพรมแดน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาคอาเซียน” โดย กรุงเทพมหานครได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาค
เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) ที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ โดยตั้งแต่ปี 2018-2024 ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 3,198 ล้านบาท และมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 2.51 ล้านคน นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนกรุงเทพฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในฐานะเครือข่ายสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) สาขาการออกแบบ (UCCN - Bangkok City of Design)
เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ จึงไม่เพียงเป็นเวทีสำหรับนักออกแบบและนักสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย เพื่อยกระดับประเทศในทุกด้านนอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเชื่อมโยงนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และนักลงทุนจากทั่วโลก พร้อมทั้งส่งเสริมการผสมผสานทุนทางวัฒนธรรมเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติที่ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาจะมาร่วมสร้างเครือข่าย และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เติบโตไปอีกขั้น
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ไม่เพียงเป็นเวทีแสดง
ผลงานสร้างสรรค์ แต่ยังสะท้อนถึงพลังในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับสากลได้อย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลมุ่งมั่นผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์อย่างจริงจังผ่านการสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและสนับสนุนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์หลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นอาหาร, เฟสติวัล (เทศกาล), ภาพยนตร์ ละคร ซีรี่ส์, ดนตรี, แฟชั่น,ภาพยนตร์, ศิลปะการแสดง, เกม, หนังสือ ฯลฯ รวมถึงการจัดงานเทศกาลทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยสู่สายตาชาวโลกซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ ส่งเสริมการส่งออก และการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์จึงไม่ใช่เพียงเรื่องของศิลปะหรือความบันเทิง แต่ยังเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยให้ประเทศไทยแข่งขันได้ในระดับโลก ดังนั้นเราจึงพร้อมจุดประกาย “พลังบวกแห่งวัฒนธรรมสร้างสรรค์” เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน”
ดร.ชาคริต พิชญางกูร
ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “CEA ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ของประเทศ ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้แก่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Products) ทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ซึ่งสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่สอดคล้องกับการยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดย CEA มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล เราเชื่อว่าเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ไม่เพียงสร้างบรรยากาศสร้างสรรค์ให้แก่เมืองและจัดแสดงงานออกแบบเท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมการนำพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์มาแก้ไขปัญหาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมือง เราทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา เครือข่ายนักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ รวมทั้งพันธมิตรทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้กลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ดึงดูดนักลงทุนและนักสร้างสรรค์จากทั่วโลก พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้เติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรม”
Winy Maas
ปีนี้ CEA ตั้งใจที่จะสะท้อนให้เห็นว่างานออกแบบสามารถมีบทบาทในทุกมิติได้จริง ดังนั้น ธีม “Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+” จึงเป็นทั้งการทำจริงและตั้งคำถามให้ทุกคนคิดว่างานออกแบบจะช่วยยกระดับกรุงเทพฯ ในด้านใดได้บ้าง เทศกาลฯ จัดแสดงงานที่นำเสนอหลายมิติ เช่น งานที่สะท้อนความเป็นเมืองแห่งการออกแบบ (The Districts: Bangkok City of Design), งานที่แสดงศักยภาพของนักสร้างสรรค์ไทย (Creative Talents : Build Up the Rising Star), งานที่เปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับนักสร้างสรรค์ไทย (Design Business: New Networking Opportunities)และงานที่นำเสนอศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทย เพื่อให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้น (Soft Power Industries : The Creative Culture Industry)”
โปรแกรมสำคัญที่สะท้อนพลังซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ใน 4 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลัก ได้แก่ ดนตรีและศิลปะการแสดง (Music & Performing), เทศกาล (Festival), การสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) และภาพยนตร์ (Film) อีกทั้งยังมีการเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการแสดงศักยภาพของนักสร้างสรรค์อีกด้วย
Music Makes Senses-ดนตรีมีรส
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานนี้คือ การบรรยายพิเศษโดย Winy Maas ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิกและงานออกแบบ MVRDV จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบงานพาวิลเลียนและสถาปัตยกรรมบนพื้นที่สาธารณะในเทศกาลต่างๆ ทั่วโลก โดยมาเผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ“Festival, Civic Space, and Architecture” ที่สะท้อนบทบาทของเทศกาลและศิลปะในการพลิกโฉมพื้นที่เมืองให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
Boundless Pleasure - ศิลปะไร้ขอบเขต : เมื่อแสงและเงาเล่าผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร อีกหนึ่งโปรแกรมไฮไลท์ของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 ที่นำศิลปะ Projection Mapping มาสร้างมิติใหม่ให้แก่สถาปัตยกรรมไทย โดยความร่วมมือระหว่าง DecideKit and Friends, Thai Immersive Media Creator Association (TIMCA) และพันธมิตรสำคัญ เช่น Epson Thailand, ซอสภูเขาทอง,PM Center และ Mahajak งานนี้เปลี่ยน “อาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร” ให้กลายเป็นเวทีแสดงศิลปะแสงและเงา โดยถ่ายทอดเรื่องราวของวัฒนธรรมไทยในมุมมองที่ร่วมสมัย เชื่อมโยงอดีตเข้ากับอนาคต นับเป็นอีกก้าวสำคัญของเทศกาลฯที่ตลอด 8 ปีของการจัดงาน ได้ผลักดัน Projection Mapping ให้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง ด้วยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์โปรเจกเตอร์ฉายภาพไปยังสถาปัตยกรรมสำคัญในย่านที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เปิดโอกาสให้พื้นที่ที่เคยถูกหลงลืมกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
Creators 2035-Globalike Thai Content
Music Makes Senses-ดนตรีมีรส โดย สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เมื่อดนตรีและอาหารสร้างประสบการณ์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย คือการผสมผสานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านดนตรีและอาหาร ที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนจากวัฒนธรรมที่หลากหลายให้เข้าถึงรากลึกของเอกลักษณ์ไทย โดยสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้ดื่มด่ำไปกับดนตรีคลาสสิกและร่วมสมัย หลอมรวมเข้ากับศิลปะอาหารที่รังสรรค์โดย เชฟเนตรอำไพ สาระโกเศศ ผ่าน 8 รสชาติอาหารไทยดั้งเดิม ได้แก่ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด ฝาด และขม สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทั่วประเทศ พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ดื่มด่ำบรรยากาศของอาคารคีตราชนครินทร์ สถาปัตยกรรมเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทำให้ศิลปะแห่งเสียงและรสสัมผัสเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมที่น่าสนใจอย่าง Creators 2035 - Globalike Thai Content โดย Cloud 11 มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยให้ก้าวสู่เวทีโลก ด้วยการผสมผสาน “วัฒนธรรมไทยเข้ากับเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง” เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ทรงพลังและเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก ขณะเดียวกันยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดยคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และรากเหง้าของความเป็นไทย และถ่ายทอดผ่านมุมมองร่วมสมัยที่ทำให้วัฒนธรรมไทยน่าสนใจและเข้าถึงง่าย นับเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยให้สามารถเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงผู้ชมจากทั่วโลกได้อย่างทรงพลัง โดยไม่สูญเสียแก่นแท้แห่งความเป็นไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี