สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มานน์ของอิสราเอล เผยว่าการศึกษานานาชาติฉบับใหม่ค้นพบว่าร่องรอยความเสียหายของหัวใจนำไปสู่การเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นสองประเภทซึ่งต้องใช้แนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน
สถาบันฯ ระบุว่าผลการวิจัยซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารเซลล์ ซิสเท็ม (Cell Systems) อาจปฏิวัติแนวทางการรักษาโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการบาดเจ็บ เนื้อเยื่อแผลเป็นจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมความเสียหายแทนการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ ทว่าเนื้อเยื่อแผลเป็นเหล่านี้สามารถทำให้การทำงานของหัวใจอ่อนแอลงตามเวลา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ
การศึกษาดังกล่าวได้จำแนกเนื้อเยื่อแผลเป็นออกเป็นสองประเภท ได้แก่ “แผลเป็นร้อน” ในกรณีที่เชื่อมโยงกับภาวะการอักเสบ และ “แผลเป็นเย็น” ในกรณีที่เชื่อมโยงกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพียงเล็กน้อย
การบาดเจ็บของหัวใจแบบเรื้อรังมักนำไปสู่การเกิด “แผลเป็นร้อน” ในขณะที่การบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น ภาวะหัวใจวาย จะทำให้เกิด “แผลเป็นเย็น”
นอกจากนี้ การศึกษาพบว่าการยับยั้งโปรตีนสำคัญที่เรียกว่าโปรตีนทีไอเอ็มพี-1 (TIMP-1) ในการทดลองในห้องปฏิบัติการ ช่วยลดการเกิดแผลเป็น ซึ่งบ่งชี้ว่าโปรตีนดังกล่าวอาจเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนายารักษาในอนาคต
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี