มีนาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรม ลำไส้ใหญ่อยากบอกอะไร เพื่อคนไทย “ลำไส้ต้องดี” โดยมี รศ.พญ.ชนิสา โชติพานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นประธานการเปิดงาน พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพ นำโดย นพ.วรวัฒน์ แสงวิภาสนภาพร หัวหน้างานอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ พญ.อัญญา เกียรติวีระศักดิ์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ระบบทาง เดินอาหารและตับ พญ.ชญานี สำแดงปั้น แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา พญ.ณัฐภาณี สุขผล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ลำไส้ ใหญ่และทวารหนัก นพ.สพล วิวัฒน์พัฒนกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ระบบทางเดินอาหารและตับ พร้อมด้วย เพียงพิศ กมลผัน นักกำหนดอาหาร และ ณัฐกานต์ อินทประเทศ นักกายภาพบำบัด โรงพยา บาลจุฬาภรณ์ ร่วมให้ความรู้ผ่านการเสวนาในหัวข้อ ลำไส้ใหญ่อยากบอกอะไร...เพื่อคนไทย “ลำไส้ต้องดี” ที่สรุปสถานการณ์ของคนไทยกับโรคมะเร็งลำไส้ รวมถึงวิธีการรับมือและการแนะนำการออกกำลังกายบริหารหน้าท้อง กระตุ้นการเคลื่อน ไหวของลำไส้ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมบริการจากทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และภาคีเครือข่ายที่มาร่วมรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงภายในงาน จัดขึ้น ณ ห้องประชุม Convention Hall ชั้น 6 อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
รศ.พญ.ชนิสา โชติพานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ มีพันธกิจในด้านบริการวิชาการและวิชาชีพด้านสุขภาพแก่สังคม โดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานหลักในการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน การจัดงานครั้งนี้ เรามุ่งส่งเสริมความรู้และการดูแลเชิงป้องกัน เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมตามพระปณิธานของ ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานผู้ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการสุขภาพด้านกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด ลำไส้ใหญ่อยากบอกอะไร เพื่อคนไทย “ลำไส้ต้องดี” ให้บริการวิชาการความรู้แก่ผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร และตับและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งวิธีการ ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำ ไส้ และร่วมดูแลรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน โดยมุ่งหวังในการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ระบบสุขภาพของประเทศเข้มแข็ง เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืนต่อไป”
นพ.วรวัฒน์ แสงวิภาสนภาพร หัวหน้างานอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ กล่าวว่า “มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก คิดเป็นประมาณ 10% ของผู้ป่วยมะเร็งใหม่ทั้งหมด และเป็นสาเหตุการเสีย ชีวิตอันดับ 2 จากโรคมะเร็งทั่วโลก ข้อมูลสถิติล่าสุด (Globocan 2022) ระบุว่าในปี 2022 มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ประมาณ 1.93 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 904,000 คน ซึ่งคิดเป็น 9% ของการตายด้วยโรคมะเร็งทั้ง หมด กล่าวคือ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นใหม่เกือบสองล้านรายทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งล้านรายจากโรคนี้ ซึ่งสะท้อนภาวะโรคที่สูงมากในระดับนา นาชาติ สัดส่วนดังกล่าวทำให้มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่วินิจฉัยบ่อยเป็นอันดับสาม และเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของโรคมะเร็งทั่วโลกในปัจจุบัน สำหรับอัตราการเสียชีวิต (mortality rate) ทั่วโลก เมื่อปรับตามอายุแล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8-9 คนต่อประชากรแสนคนต่อปี (ขึ้นอยู่กับภูมิภาค) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่ถือเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามสถิติ Globocan ปี 2022 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ประมาณ 20,173 คน ภายในปีเดียว (คิดเป็นประมาณ 11% ของผู้ป่วยมะเร็งใหม่ทั้ง หมดในประเทศ) และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 10,158 คน ในปีเดียวกัน (คิดเป็นประมาณ 8.5% ของการตายด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด) มะ เร็งลำไส้ใหญ่จัดว่าเป็นมะเร็งที่พบบ่อย อันดับ 3 ในประชากรไทย (รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอดสำหรับทั้งสองเพศรวมกัน) และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็ง อันดับ 3 ของประเทศเช่นกัน กล่าวคือ มะเร็งชนิดนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสิบของทั้งจำนวนผู้ป่วยมะเร็งและผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งในไทย นอกจากนี้ มีรายงานว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งเพียงชนิดเดียวที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นในทั้งผู้ชายและผู้หญิงของไทย เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มที่น่ากังวลในอนาคตหากไม่มีมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ โดยอัตราการเกิดและการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่แตกต่างกันตามภูมิภาคของโลกและประเทศต่างๆ อย่างมาก โดยประเทศที่พัฒนาแล้วมักพบอุบัติการณ์ของโรคสูงกว่า (เนื่องจากทั้งปัจจัยด้านวิถีชีวิตและโครงสร้างอายุประ ชากร) ขณะที่หลายประเทศที่กำลังพัฒนามีอุบัติการณ์ต่ำกว่าแต่แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในประเทศไทยเอง แม้อุบัติการณ์รวมจะยังต่ำกว่าประเทศตะวันตก แต่ก็ถือว่าอยู่ในลำดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสัดส่วนผู้ป่วยใหม่และผู้เสีย ชีวิตในระดับสูงเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่นในประเทศ
ทั้งนี้ แนวโน้มของมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ 1.ในประเทศพัฒนาแล้ว แนวโน้มลดลงหรือนิ่งเนื่องจากมาตรการป้องกัน/คัดกรองที่ได้ผล และ 2.ในประเทศกำลังพัฒนา แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการขาดมาตรการคัดกรองที่ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยรวมทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นจากปัจจัยประ ชากร อนึ่ง การคาดการณ์อนาคตชี้ว่าโรคนี้จะเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เว้นแต่มนุษย ชาติจะสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้อย่างมีนัยสำคัญในทุกภูมิภาค”
พญ.ชญานี สำแดงปั้น แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กล่าวว่า “มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากการที่เซลล์ของลำไส้ใหญ่เกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งหน้าที่ของ DNA ในเซลล์คือการควบคุมเซลล์ต่างๆ ให้มีการแบ่งตัวและทำงานอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อเซลล์เกิดการกลายพันธุ์ เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวมากเกินกว่าความจำเป็น และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้มีเนื้องอกเกิดขึ้นและหลังจากเวลาผ่านไปจะเกิดเป็นเซลล์ร้าย ที่จะแบ่งแยกแผ่ขยายและเริ่มทำลายเนื้อเยื่อปกติบริเวณใกล้เคียง ท้ายที่สุดเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะแยกออกมาจากเนื้องอกและก่อตัวที่อวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจมีปัจจัยมาจากอาหารและสิ่งแวดล้อม โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน ไขมันและน้ำตาลสูง ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วน เป็นปัจ จัยสำคัญต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า 2 คนขึ้นไป เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อัก เสบเรื้อรัง และการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการ ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก ลักษณะอุจจาระมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น เรียวยาวกว่าปกติ หรือเป็นเม็ดๆ หรือการที่น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ”
พญ.อัญญา เกียรติวีระศักดิ์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ระบบทางเดินอาหารและตับ กล่าวเสริมว่า “ประชาชนทั่วไปควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 45-50 ปี ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ควรเริ่มตรวจก่อนอายุ 40 ปี หรือก่อนอายุของญาติที่เป็นมะเร็งลำไส้ 10 ปี”
พญ.ณัฐภาณี สุขผล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล่าวถึง วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ว่า “การผ่าตัดเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มต้นหรือมีการลุกลามเฉพาะที่ หรือในกรณีที่มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น การผ่าตัดก็ยังมีบทบาทในผู้ป่วยบางราย ทั้งนี้ การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ศัลยแพทย์ยังเป็นผู้ที่ทำการผ่าตัดอยู่ แต่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพิ่มเข้ามาช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่สามารถกลับมาสู่กิจวัตรประจำวันได้เร็วขึ้นด้วย ทั้งนี้ การเปิดให้บริการทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นอีกก้าวสำคัญในการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด แต่ยังช่วยลดความเจ็บปวดและระยะเวลาการพักรักษาตัวของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นความหวังและกำลังใจให้กับผู้ป่วยมะเร็งทุกคน”
ด้าน นพ.สพล วิวัฒน์พัฒนกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ระบบทางเดินอาหารและตับ กล่าวถึง ความสำคัญของการดูแลสุขภาพลำไส้และข้อควรปฏิบัติว่า “ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง วันละ 25–38 กรัม จากผัก ผลไม้และธัญพืช เพื่อช่วยลดการอักเสบในลำไส้และทำให้ขับถ่ายดีขึ้น ลดอาหารประเภทเนื้อแดงและอาหารแปรรูป จำกัดเนื้อแดงไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ และหลีกเลี่ยงไส้กรอก แฮม เบคอน ฯลฯ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 4–5 วันต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนัก BMI ให้อยู่ระหว่าง 18–23 งดการสูบบุหรี่–ลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มแนะนำที่อายุ 50 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคัดกรองที่เหมาะสม” เสริมท้ายด้วย เพียงพิศ กมลผัน นักกำหนดอาหารซึ่งได้ให้คำแนะนำในการเลือกอาหารและการปรับพฤติ กรรมเพื่อสุขภาพลำไส้ที่ดีของทุกคน
ปิดท้ายกับกิจกรรม “ออกกำลังกาย บริหารหน้าท้อง” โดย ณัฐกานต์ อินทประเทศ นักกายภาพบำบัดที่มาสอนการออกกำลังกายง่ายๆ เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการส่งเสริมสุขภาพลำไส้ที่สา มารถทำได้ง่ายๆทุกวัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ แนะนำการส่องกล้องทางเดินอาหาร รวมถึงการแนะนำโภชนาการ “อาหารเซฟลำไส้” โดยนักกำหนดอาหารและการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้โดยนักกายภาพบำบัด พร้อมกันนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากผลิตภัณฑ์ดัชชี่ ซึ่งได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ส่งเสริมการดูแลสุขภาพลำไส้ให้ดีขึ้น โดยการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน และช่วยเผย แพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลลำไส้ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับรู้และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอีกด้วย
สำหรับท่านที่สนใจเข้ารับการปรึกษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 7 โถงลิฟต์ B อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร 1118 ต่อ 5175 และสำหรับผู้รับบริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่มีประวัติการรักษา หรือ HN เพื่อความสะดวกและไม่พลาดทุกการแจ้งเตือน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CHULABHORN HEALTH PLUS ได้ทาง App store และ Google Play store
040
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี