สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ “มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา”
คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๘ ประกาศให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น มรดกไทยนั้นถ้าเป็น มรดกของชาติกรมศิลปากร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมได้มีหน้าที่พัฒนา บูรณะและรักษาโบราณสถานศาสนสถานอยู่แล้ว ส่วนมรดกชาวบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น
รำวงมาตรฐาน
จากโครงการ เที่ยวชุมชนยลวิถี ของกระทรวงวัฒนธรรมที่ผ่านมา กลับพบมรดกไทยจากชุมชนอยู่ทั่วประเทศ แม้จะได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทยแล้วก็ตาม ซึ่งในพ.ศ.๒๕๓๕ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทยและ พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย กิจกรรมส่วนใหญ่นิยมจัดนิทรรศการ จัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา สำหรับชุมชนทั่วประเทศที่มีมรดกไทยนั้นกลับหลงลืม ทั้งๆ ที่มีจุดเด่นทุกด้าน ด้านอาหาร มีอาหารทุก ๔ ภาคที่รสชาติแตกต่างกัน ที่รู้จักก็มีส้มตำ ต้มยำกุ้ง แกงเลียง ไส้อั่ว แคบหมู แหนม หมูยอ แกงเหลือง อาหารขันโตกด้านการแสดง ที่รู้จักกันดีมี โขน โนราห์หนังตะลุง ลิเกฮูลู มวยไทย มวยไชยารำไทย รำวง ฟ้อนต่างๆ หมอลำ ลิเก กลองยาว ด้านการแต่งกาย นั้นมีความสวยงามตามพื้นถิ่น เช่น ชุดบาบ๋ายาหยาชุดล้านนา ชุดอีสาน ชุดผู้ไทย ชุดพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ด้านศิลปพื้นบ้านมีการสร้างสรรค์ตามชุมชน เช่น การทอผ้าซิ่นตีนจก การวาดภาพบนเรือกอและการสลักหนังใหญ่ การแกะสลักไม้งานปูนปั้นสด การทำเครื่องเงิน การทำกรงนกหัวจุกเป็นต้น
มรดกไทยจากชุมชนและท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ กระทรวงวัฒนธรรมได้ยกระดับมรดกไทยให้เป็นเทศกาลสำคัญโดย เทศกาลเมืองครามสกลนคร “Kram & Craft โลก” นำผ้าย้อมครามมรดกไทยให้มีการรับรองให้สกลนครเป็น“นครหัตถศิลป์โลกเจ้าแห่งครามธรรมชาติ” (WorldCraft City for Natural Indigo) ถือเป็นแห่งแรกของไทยและเป็นหนึ่งในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอนและมหกรรมหนังเงานานาชาติ จ.ราชบุรี นำหนังใหญ่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ให้ยูเนสโกประกาศให้การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอนได้รับรางวัลจากยูเนสโกและยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๖ชุมชนดีเด่นของโลก เทศกาลภูเก็ตเมืองสร้างสรรค์“Kebaya Festival” ยูเนสโกประกาศรับรองเคบายา (Kebaya) เป็นมรดกวัฒนธรรมร่วมกับประเทศบรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์และไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านการแต่งกายของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านคาบสมุทรมลายูมากว่า๓๐๐ ปี และได้ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อปี ๒๕๕๕ เคบายาจึงสะท้อนถึงประวัติศาสตร์และประเพณีที่มีร่วมกันของภูมิภาคตลอดจนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
โนราห์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี