การศึกษาฉบับใหม่เปิดเผยถึงความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุระหว่างความเหงาเรื้อรังกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในหมู่ผู้หญิงวัยกลางคนชาวออสเตรเลีย โดยผู้หญิงที่รู้สึกเหงาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปี มีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยมากกว่าผู้ที่ไม่รู้สึกเหงาถึง 3 เท่า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นซิดนีย์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลระยะ 20 ปีจากการศึกษาวิจัยระยะยาวด้านสุขภาพผู้หญิงของออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 57,000 คน เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 48-55 ปี พบว่า ผู้หญิงที่ไม่มีความรู้สึกเหงาเรื้อรังมีความเสี่ยงเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 5 ขณะที่ความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 ในกลุ่มที่มีความรู้สึกเหงาอย่างต่อเนื่อง
เนตา ฮากานี ผู้เขียนหลักของการศึกษา กล่าวว่า ความเหงาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ เช่นเดียวกับการตรวจความดันโลหิตสูงหรือคอเลสเตอรอล และจำเป็นต้องสร้างความตระหนักในสังคมเกี่ยวกับความเหงา เพื่อให้ผู้คนมีความเข้าใจมากขึ้นและลดการตีตราความรู้สึกนี้
ด้าน ศาสตราจารย์เมโลดี ติง จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ระบุว่าผู้หญิงวัยกลางคนมักเป็นผู้ดูแลทั้งลูกเล็กและพ่อแม่สูงอายุ ขณะเดียวกันพวกเธอต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านสำคัญในชีวิต เช่น วัยหมดประจำเดือน การเกษียณอายุ หรือการที่ลูกย้ายออกจากบ้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนสามารถนำไปสู่การแยกตัวทางสังคมได้ และแม้จะยังไม่มีข้อมูลระยะยาวที่เปรียบเทียบได้เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ชาย แต่ช่วงวัยกลางคนเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในทางลบมากกว่า
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี