โรคหัวใจ มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่ม กว่าจะรู้อาจจะสายเกินไป เมื่อเกิด ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ Heart Attackมักเป็นอย่างฉุกเฉิน ไม่รู้ตัวมาก่อน อาจเกิดในคนที่ดูปกติไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อพบอาการผิดปกติไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะทุกนาทีมีค่าต่อชีวิตสิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต คือ การวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่...
l ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
l ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เพราะไขมันอุดตันในเส้นเลือด หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เพราะเส้นเลือดหัวใจมีการตีบที่รุนแรง หรืออุดตันอย่างเฉียบพลัน
l ผู้มีภาวะเครียด กดดัน พักผ่อนน้อย ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจมีความผิดปกติ
l มีภาวะอ้วนตั้งแต่เด็ก
l สูบบุหรี่
l นอนกรนรุนแรง มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
l ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทั้งหมดนี้ คือสาเหตุสำคัญมาจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว หรือตีบตัน เมื่อเส้นเลือดตีบส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจในที่สุด ดังนั้น ควรตรวจสุขภาพหัวใจ อาทิ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือ ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) หรือ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ควบคู่กับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 35-40 ปีขึ้นไป เมื่อพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนตามคำแนะนำแพทย์
อาการผิดปกติของโรคหัวใจ...ควรหมั่นสังเกตตนเอง หรือคนรอบข้าง เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือน “หัวใจวายเฉียบพลัน”
l แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ นานกว่า 20 นาที
l เหงื่อออก ตัวเย็น
l คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก
l ปวดจุกท้อง บริเวณลิ้นปี่ หรือปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่โดยเฉพาะไหล่ซ้าย
l หายใจหอบ หายใจไม่พอ หายใจสั้น
หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนั่งพัก และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะอาการเหล่านี้...เป็นส่วนหนึ่งของ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หัวใจจะหยุดเต้น สมองอาจขาดออกซิเจน กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและทันเวลา “ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้” หากพบผู้หมดสติให้ควรปฏิบัติ ดังนี้
l เรียกหรือเขย่าตัวผู้หมดสติว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่
l ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งหรือไม่ หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
l รีบโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือหน่วยกู้ชีพ หรือรถพยาบาลฉุกเฉิน และเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ หรือทำ CPR เพื่อพยุงเวลาในการช่วยชีวิตผู้ป่วยให้นานที่สุด ทำให้หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย
l วิธีการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ การใช้ไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติด้วยเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) ใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่ที่เครื่อง
สนับสนุนบทความโดย : นพ.วิจารณ์ เทวธารานันท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. Call Center 1745
www.bangpakokhospital.com
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี