ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนปลายของระบบทางเดินอาหารที่แพทย์เรียกว่า gastrointestinal tract ที่เริ่มจากปาก หลอดอาหาร (oesophagus) กระเพาะอาหาร (stomach) duodenum (หรือส่วนบนสุดของลำไส้เล็ก – small(เล็ก) intestine (ลำไส้ หรือ bowel) และลำไส้ใหญ่ (large(ใหญ่) intestine) และยังมีอวัยวะอื่นๆ ที่ยื่นออกไปจาก GI tract คือ ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ฯลฯ ลำไส้ใหญ่มีความยาวประมาณ1.5 เมตร (5 ฟุต) มีหน้าที่ดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่ร่างกายส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีชื่อว่า rectum ที่มีความยาว 6 นิ้ว หรือ 15 ซม. มีหน้าที่เก็บอุจจาระไว้จนถึงเวลาที่เหมาะสม
มะเร็งของลำไส้ใหญ่ หรือ colon cancer หรือ colorectal cancer เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยทั่วโลก ที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเรา ประมาณ 25% จะมีสาเหตุจากพันธุกรรม ประมาณ 75% มาจากพฤติกรรม มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่จะป้องกันได้ด้วยการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตั้งแต่เยาว์วัย นอกจากนั้นโรคนี้ยังสามารถตรวจคัดกรองหารอยโรคได้ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ซึ่งจะสามารถรักษาให้หายขาดได้
ข้อดี (ถ้ามะเร็งมีข้อดีได้)ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ มันไม่ได้อยู่ดีๆเกิดมะเร็งขึ้นมาเลย แต่เมื่อคนเรามีอายุสูงขึ้น จะมีติ่งเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้เล็ก หรือที่แพทย์เรียกกันว่า polyp ติ่งเนื้อนี้จะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาเป็นสิบปีจึงจะกลายเป็นมะเร็ง แต่ไม่ใช่ polyps ทุกชนิดที่จะกลายเป็นมะเร็ง polyps มีหลักๆ 3 ชนิด คือ adenomatous polyps (adenomas), hyperplastic polyps และ inflammatory polyps (กลุ่มนี้ไม่ค่อยกลายเป็นมะเร็ง) และ sessile serrated polyps (SSP) และ traditional serrated adenomas (TSA)
ติ่งเนื้อถ้าใหญ่เกิน 1 ซม. จะยิ่งมีโอกาสเป็นมะเร็ง หรือถ้ามี polyps มากกว่า 3 อัน
อาจมีติ่งเนื้อได้โดยไม่มีอาการ เมื่อคนเราสูงอายุขึ้น เช่น 45 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสมี polyps มากขึ้น ฉะนั้นแพทย์ในปัจจุบันนี้จึงแนะนำให้ประชาชนตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 45 ปี ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการ (สมัยก่อนแพทย์แนะให้ตรวจตอนอายุ 50 ปี)
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ polyp อาจจะกลายเป็นมะเร็ง ในระยะแรกอาจยังไม่มีอาการ จนกระทั่งก้อนใหญ่มากจนทำให้ลำไส้อุดตัน ปวดท้อง หรือก้อนทะลุ หรือมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือเซลล์มะเร็งอาจลามไปที่อื่นตามท่อน้ำเหลือง หรือหลอดเลือด ฯลฯ
ฉะนั้นอย่าปล่อยไว้จนมีอาการ เพราะถ้ามีอาการแสดงว่ามะเร็งจะเป็นมากพอสมควรแล้ว
อาการที่สำคัญของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ มีการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายอุจจาระ เช่น จากปกติวันละครั้งกลายเป็น 3 วันครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น มีอาการถ่ายเป็นเลือดสีแดง หรือแดงดำ หรือดำหรือมีอาการปวดท้อง ปกติคนเราจะถ่ายวันละ 3 ครั้งจนถึง 3 วันต่อ 1 ครั้งถ้าเป็นอย่างนี้มาตลอดชีวิต แต่ 2-3 เดือนหลังการขับถ่ายเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องรีบปรึกษาแพทย์
มะเร็งของลำไส้ใหญ่มีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็น adenocarcinomas ส่วนมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่พบไม่ค่อยบ่อย คือ carcinoid, gastrointestinal stromal tumours (GISTs), lymphomas และ sarcomas
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ 1) อายุมากกว่า 45 ปี เดิม 50 ปี แต่เดี๋ยวนี้มะเร็งเกิดมากขึ้นในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี สถาบันการแพทย์หลายแห่งจึงลดอายุที่จึงตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จาก 50 ปี ลงมาเป็น 45 ปี 2) ชาว African – America 3) ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมี polyps มาแล้ว 4) มีโรคที่มีการอักเสบของลำไส้ใหญ่ เช่น โรค ulcerative colitis, Crohn’s disease 5) พันธุกรรมมีไม่มากที่มาจาก genes ที่ได้มาจากบิดามารดา คือ โรค familial adenomatous polyposis (FAP) และ Lynch syndrome (hereditary nonpolyposis colorectal cancer, HNPCC) อาจจะประมาณ 5% 6) มีประวัติมะเร็งในครอบครัว ยิ่งมีหลายคนเป็นยิ่งมีความเสี่ยง 7) กินอาหารที่มีไขมันมาก กากน้อย โดยเฉพาะเนื้อแปรรูป เนื้อแดง 8) ไม่ออกกำลังกาย 9)Diabetes Mellitus (DM-เบาหวาน) 10) โรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งได้อย่างน้อย 13 ชนิด (WHO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะเร็งเต้านม ตับ และลำไส้ใหญ่ แต่ก็รวมทั้งมะเร็งต่างๆ เหล่านี้ด้วย คือ มะเร็งของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ ไทรอยด์ multiple myeloma (โรคของระบบเลือด) และ meningioma (สมอง)11) บุหรี่ 12) แอลกอฮอล์ และ 13) การรักษาด้วยรังสีที่หน้าท้อง
ฉะนั้นถ้าท่านมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวตามข้างบน ท่านก็จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้บ้าง แต่ถึงแม้ท่านทำทุกอย่างตามข้างบนแล้ว ถ้าท่านมีญาติพี่น้องที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ท่านควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจคัดกรองหามะเร็ง หลักๆ คือ ถ้าญาติท่านเป็นมะเร็งตอนอายุ 40 ปี ท่านควรรีบไปปรึกษาแพทย์ตอนอายุ 30 ปี หรือดีที่สุดทราบเมื่อไหร่ไปหาเลย แพทย์จะบอกเองว่าควรที่จะตรวจคัดกรองเมื่อไหร่
พฤติกรรมที่เหมาะสมหลักๆ คือ อาหาร ควรรับประทานผัก ผลไม้whole grain มากๆ ผักหลากหลายชนิด หลายสี ไม่รับประทานเนื้อแปรรูป เนื้อแดง หรือให้น้อยที่สุด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย หรือดื่มไม่เกิน 2 หน่วยต่อวันไม่ว่าชายหญิง (1 หน่วยคือ 25 ซีซีวิสกี้ หรือเบียร์ 200 ซีซี หรือไวน์ 80 ซีซี)ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยานวันละ 30-60 นาทีสัปดาห์ละ 5 ครั้ง และรักษาน้ำหนักตัวให้ดีด้วยการควบคุม BMIให้ไม่เกิน 23 พุง ชายหญิงไม่เกิน 90,80 ซม. ตามลำดับ
วิธีการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี ตั้งแต่ตรวจอุจจาระหาเลือด มี guaiac-based fecal occult blood test (gFOBT), fecal immunochemical test (FIT), FIT-DNA test (ทุกปี), flexible sigmoidoscopy ทุก 5 ปี, double contrastbarium enema ทุก 5 ปี, virtual colonoscopy (CT colonography)ทุก 5 ปี, ซึ่งทุกๆ วิธีต่างๆ นี้ถ้าพบความผิดปกติต้องไปส่องกล้อง (colonoscopy) และ colonoscopy ทุก 10 ปี
แต่ที่เป็น one stop service (ไปที่เดียวจบเลย) คือการทำการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เพราะในวิธีนี้ถ้าพบ polyp สามารถตัดออกได้เลย
ทุกท่านจึงควรปรึกษาแพทย์เมื่ออายุ 45 ปี ทั้งๆ ที่สบายดี หรือก่อนหน้านี้ถ้ามีอาการ
นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี