เอ็นบริเวณรอบหัวไหล่ ประกอบด้วยกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก 4 มัดเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเอ็นห่อหุ้มรอบกระดูกต้นแขนบริเวณหัวไหล่ มีหน้าที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงและช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ หากมีการอักเสบหรือเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่จะทำเกิดอาการปวดบริเวณข้อไหล่และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
อาการ
มักมีอาการปวดบริเวณรอบหัวไหล่ เป็นมากขึ้นเมื่อยกแขนหรือต้องทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมือหรือแขนเหนือศีรษะ (Overhead activity) บ่อยครั้งพบว่ามีอาการปวดในช่วงเวลากลางคืน หรือหากนอนทับแขนข้างที่มีอาการจะทำให้ปวดแขนข้างนั้นมากขึ้น เมื่อการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่มากขึ้นจะส่งผลการยกแขนหรือบิดหมุนข้อไหล่
อาการที่ควรมาพบแพทย์
-ปวดไหล่เรื้อรัง และรบกวนชีวิตประจำวัน
-หลังจากได้รับอุบัติเหตุ ไม่สามารถยกแขนได้
-รู้สึกอ่อนแรงในการยกหรือหมุนบิดแขน
แนวทางการตรวจประเมิน
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ (Plain film)เพื่อดูความผิดปกติของข้อไหล่หรือหินปูนโดยรอบ และส่งตรวจเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของรอยโรค เพื่อวางแผนการรักษาร่วมกัน
แนวทางการรักษา
การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative treatment)
การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดเป็นแนวทางการรักษาหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุหรือกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมที่ต้องยกแขนใช้หัวไหล่นานๆ จุดประสงค์ของการรักษา
จะมุ่งเน้นเพื่อลดอาการเจ็บปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ให้แข็งแรง การรักษาจะประกอบไปด้วย
-การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หัวไหล่ เพื่อลดการใช้งานหัวไหล่ลง โดยเลี่ยงการเอื้อมแขนไประยะไกลตัว หรือการยกของหนัก เป็นต้น
-การรับประทานยาลดการอักเสบ
-การฉีดยาลดการอักเสบ (Steroid) เข้าที่ข้อไหล่
-การทำกายภาพบำบัด
● การลดปวดโดยใช้ความเย็น
● การฟื้นฟูเพื่อเพิ่มการขยับของข้อไหล่
● การฟื้นฟูโดยการบริหารกล้ามเนื้อและเพิ่มการขยับของข้อ
การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery)
ข้อบ่งชี้
-ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาและกายภาพบำบัดมาแล้ว ระยะเวลา 4-6 เดือนแล้วไม่ดีขึ้น
-กลุ่มที่เส้นเอ็นฉีกขาดจากอุบัติเหตุ
-กลุ่มนักกีฬาหรือผู้ป่วยที่มีอาชีพต้องใช้งานหัวไหล่ในการยกแขนเป็นประจำ
การผ่าตัดเย็บซ่อมแซมเส้นเอ็นสามารถใช้วิธีการส่องกล้องหรือเปิดแผลขนาดเล็กได้ขึ้นอยู่กับรอยโรคของผู้ป่วยแต่ละคน โดยวิธีการส่องกล้องนั้นพบว่าได้รับผลการรักษาที่ดีและถือเป็นมาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน
References
-Essential sports medicine / หัวหน้าคณะบรรณาธิการ วุฒิพงศ์ สุทัศนีย์ ; ISBN, 978-974-75-1454-4 ; พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ : อนุสาขาเวชศาสตร์การกีฬาราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประทศไทย
พญ.ธนรรทร เปี่ยมทิพย์มนัส
แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประทศไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี