การป้อนนมลูกสัตว์กำพร้ามีหลักการคือ “ป้อนทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง” โดยปกติแล้วควรป้อนทุก 2-3 ชั่วโมง อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนนมก็ควรใช้ขวดนมสำหรับลูกสัตว์โดยเฉพาะและเลือกจุกนมให้มีขนาดเหมาะสมกับปากของสัตว์ หากลูกสัตว์ยังดูดไม่เป็น ก็อาจต้องใช้ไซริงค์หรือกระบอกฉีดยา (ที่ประยุกต์ด้วยการติดปลายด้วยยางนิ่มๆ เช่น ไส้ไก่ยางในของรถจักรยาน) ใช้ป้อนลูกสัตว์ก็ได้
สำหรับปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมนั้น ขึ้นกับขนาดตัวของลูกสัตว์ ลูกสัตว์จะกินไม่มาก และจะหยุดกินเองเมื่ออิ่มท้อง หรือเราจะสังเกตได้จากลักษณะของท้องที่ขยายขนาดขึ้นก็ได้
ข้อควรระวังในการป้อนนมคือ
- ชนิดของนม ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
- ความสะอาดและการปนเปื้อนแบคทีเรียในนมที่ชงทิ้งไว้ (นมบูด)
- อุณหภูมิของนมที่ให้กิน ต้องอุ่นพอควรเพื่อป้องกันภาวะท้องอืดจากการกินนมที่เย็นเกินไป และไม่ร้อนเกินไปจนเกิดการลวกปากและทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถทดสอบความอุ่นได้ โดยลองหยดนมมาที่หลังมือของเรา
- การสำลักจากการป้อนนมในปริมาณมากและเร็วเกินไป หรือการเจาะรูที่จุกนมใหญ่เกินไปทำให้ลูกสัตว์กลืนไม่ทัน และสำลักนมเข้าปอด เกิดการติดเชื้อ และตายได้ทันที
- การเจาะรูที่จุกนมเล็กเกินไป ก็จะทำให้ลูกสัตว์ดูดนม
ไม่ได้
3.“อึ” หรือ “การขับถ่าย”
หลักการข้อที่สามคือเรื่องของการขับถ่ายของเสีย (ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ) การขับถ่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเสมอว่า ทุกครั้งที่ลูกสัตว์ได้รับน้ำนมจะต้องมีการขับถ่ายควบคู่กันไป
ในภาวะปกติ เราจะเห็นว่าแม่สัตว์จะเลียทำความสะอาดตัวลูกสัตว์ โดยเลียบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักเพื่อกระตุ้นลูกสัตว์ให้ขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะออกมา สำหรับลูกสัตว์กำพร้า แม่นมต้องช่วยกระตุ้นการขับถ่ายแทนแม่สัตว์ด้วยการใช้ “สำลีชุบน้ำอุ่น” เช็ดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทดแทนการเลียของแม่สัตว์
ข้อควรระวังในการกระตุ้นการขับถ่ายคือ
- ต้องทำทุกครั้งหลังป้อนนมลูกสัตว์
- ควรให้เวลากับการกระตุ้นการขับถ่ายในลูกสัตว์ด้วย เนื่องจากลูกสัตว์บางตัวจะใช้เวลาค่อนข้างนานในการกระตุ้นการขับถ่าย
- ไม่จำเป็นต้องทำด้วยความรุนแรงแต่ใช้ความอุ่นของน้ำที่ชุบสำลีในการกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย
- หากลูกสัตว์ไม่ยอมขับถ่าย ควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นหลักการเบื้องต้นในการเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์กำพร้า ซึ่งหากเราทราบข้อมูลดังนี้แล้ว เราทุกคนก็สามารถช่วยเหลือลูกสัตว์กำพร้าให้มีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น และเมื่อโตขึ้นจนมีอายุครบสำหรับให้วัคซีนแล้วละก็ อย่าลืมพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อเริ่มโปรแกรมวัคซีนด้วยครับ เพราะว่าลูกสัตว์กำพร้ามีภูมิคุ้มกันค่อนข้างต่ำกว่าปกติ วัคซีนจึงเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันลูกสัตว์จากโรคติดเชื้อต่างๆ ได้
หมอโอห์ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
สำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี