สังคมปัจจุบันเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัย บางครอบครัวมีคนน้อยลง บางคนเลือกเป็นโสด หรือบางคนอาจมีคู่แต่เลือกไม่มีลูก ดังนั้น จึงมีการมักนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเป็นสมาชิกของครอบครัว จนมีคำใหม่เกิดขึ้น เช่น Pet Humanization และ Pet Parent หมายถึงพฤติกรรมที่เจ้าของเลี้ยงสัตว์เหมือนเป็นสมาชิก หรือลูกในครอบครัว หรือมีคำว่า Petriarchy แปลว่าทาสหมา-ทาสแมว (https://www.reic.or.th/News/RealEstate/468477)
และพบว่าธุรกิจสัตว์เลี้ยงเติบโตมากขึ้น ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) คาดว่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 2567 มีมูลค่าราว 75,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 12.4% จากปี 2566 ในกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดคือ กลุ่มอาหารสัตว์ แล้วยังพบว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีภาระค่าใช้จ่ายกับสัตว์เลี้ยงเฉลี่ย 41,100 บาทต่อตัวต่อปี ซึ่งสูงกว่าการเลี้ยงปล่อยแบบอิสระ ที่มีค่าใช้จ่ายราว 7,745 บาทต่อตัวต่อปี
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าสังคมในปัจจุบัน คนให้ความสนใจสัตว์เลี้ยงมากขึ้น การเติบโตดังกล่าวทำให้มีผลต่อมาคือโรงพยาบาลสัตว์ และคลินิกสถานพยาบาลสัตว์มากขึ้น เพราะเป็นที่สำหรับดูแลรักษาสัตว์ป่วย และรักษาสุขภาพของสัตว์เลี้ยงที่สอดคล้องกับความต้องการเจ้าของสัตว์มากขึ้น
ถ้าหากคุณต้องการนำสัตว์มาเลี้ยงบ้าง คุณต้องเตรียมตัวดังต่อไปนี้
1.ศึกษาข้อมูลสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยง เช่น สายพันธุ์ ช่วงอายุ นิสัย พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และโรคประจำของสายพันธุ์นั้นๆเรื่องนี้จำเป็นมาก เพราะเจ้าของสัตว์ต้องทราบข้อมูลก่อนตัดสินใจนำสัตว์มาเลี้ยง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
2.ความสามารถและศักยภาพดูแลสัตว์เลี้ยง เช่น พื้นที่เลี้ยงดูต้องทำให้สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากจะเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้นรีทีฟเวอร์ จำเป็นต้องมีพื้นที่ให้เขาเดินวิ่งออกกำลังกาย และเจ้าของต้องมีเวลาดูแล และนำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกาย เมื่อเขาเจ็บป่วยต้องพาไปพบสัตวแพทย์ และต้องดูว่าการเลี้ยงสัตว์ในบ้านของเราส่งผลรบกวนเพื่อนบ้านหรือไม่ ข้อนี้ต้องระวังให้ดีมากๆ เพราะจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
3.ค่าใช้จ่ายในที่จะเกิดขึ้นกับการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยง เช่น ค่าอาหาร อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงสัตว์ แชมพู ปลอกคอ ค่าวัคซีน ยาป้องกันโรคต่างๆ ยาถ่ายพยาธิ รวมถึงการรักษาเมื่อสัตว์เจ็บป่วย สำหรับสุนัขที่มีขนาดใหญ่มาก ก็จะมีค่าใช้จ่ายตามขนาดตัวที่เพิ่มมากขึ้น เพราะต้องใช้ปริมาณยาตามน้ำหนักของเขา
4.การรับสัตว์เลี้ยงมาจากฟาร์ม ต้องเลือกฟาร์มที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยต่อโรคติดต่อต่างๆ หรือโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของสัตว์ ต้องมีข้อมูลประวัติพ่อแม่สัตว์ที่ชัดเจนด้วย
เมื่อสัตว์เลี้ยงมาอยู่กับเรา ต้องทำอะไรบ้าง
1.มีข้อมูลสัตว์เลี้ยง เช่น ประวัติฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ โรคประจำตัวของสัตว์ การให้อาหาร ขับถ่าย พฤติกรรมที่พบเป็นประจำ ยาที่กินประจำ
2.เมื่อสัตว์เลี้ยงเข้ามาอยู่ในบ้าน ช่วง 1-2 สัปดาห์แรกต้องสังเกตอาการ และระวังเรื่องเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น เพราะในช่วงเปลี่ยนพื้นที่ เปลี่ยนเจ้าของ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม ล้วนส่งผลให้เกิดความเครียด จึงอาจพบโรคที่มีระยะฟักตัวที่ติดมาก่อนจะมาอยู่กับเจ้าของใหม่ โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในลูกสัตว์ คือ ลำไส้อักเสบ ไข้หัดแมว-สุนัข โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ สัตวแพทย์จะแนะนำให้เจ้าของที่รับสัตว์เลี้ยงใหม่เข้ามา เฝ้าติดตามอาการอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วพิจารณาให้รับวัคซีนป้องกันโรค แต่ปัจจุบัน พบว่าสุนัขและแมว จะเริ่มทำวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน แล้วจึงเข้าสู่โปรแกรมวัคซีนต่างๆ แล้วจึงถ่ายพยาธิ และให้ยาป้องกันเห็บ หมัด พยาธิหนอนหัวใจ
3.การดูแลสุขลักษณะ เช่น อาหารและน้ำต้องสะอาด และเพียงพอ มีพื้นที่ขับถ่ายถูกสุขลักษณะ เช่น แมว ต้องมีกระบะทรายที่เพียงพอ หากมีแมวหลายตัวก็ต้องใช้หลายกระบะให้ครบจำนวนแมว เพื่อลดปัญหาหรือพฤติกรรมการขับถ่ายที่จะนำไปสู่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือการเกิดนิ่วแมวในอนาคต
4.ศึกษาหาข้อมูล สถานพยาบาลสัตว์คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ ที่อยู่ใกล้บ้าน ดูว่ามีบริการด้านใดบ้าง เปิดบริการช่วงเวลาใด กรณีฉุกเฉินจะได้นำสัตว์เลี้ยงไปรักษาได้รวดเร็ว
น.สพ.นนทษิต ชุติญาณวัฒน์
รองคณบดีฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี