ผมเขียนเรื่อง Air Pollution ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ววันนี้ขอพูดเกี่ยวกับ Climate Change จะได้ครบเครื่อง
Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากธรรมชาติ และจากมนุษย์เป็นหลัก
โดยธรรมชาติโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว แต่ในอดีตใช้เวลานับพันถึงล้านปีในการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงของวงโคจรโลก การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์ การระเบิดทางภูเขาไฟ ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และลานีญา (La Nina) ฯลฯ
แต่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้โลกร้อนมาจากพฤติกรรมมนุษย์ ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา คือ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ) ของมนุษย์ที่ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเกิดขึ้นใน
1)โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า รถยนต์และการขนส่งซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกหลักที่ทำให้โลกร้อน
2) การตัดไม้ทำลายป่า เพราะต้นไม้ช่วยดูดซึม CO2จากอากาศ เมื่อป่าถูกทำลายทำให้มี CO2 ค้างอยู่ในบรรยากาศมากขึ้นจากไฟป่า และการเผาป่า ทำให้เกิด CO2 จำนวนมาก
3) การเกษตรและปศุสัตว์ การเลี้ยงวัว แกะ ฯลฯ ปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการย่อยอาหาร การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในเกษตรกรรม ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
4) จากอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตสารเคมี ปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด
5) ขยะและของเสีย การกำจัดขยะโดยการฝังกลบทำให้เกิดก๊าซมีเทนจากการเน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุ ขยะพลาสติกที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องทำให้เกิดมลพิษและเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิต
ผลกระทบของ Climate Change ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น นำไปสู่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับทะเลสูงขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน (extreme weather)ทำให้เกิดพายุ ฝนแล้ง คลื่นความร้อน น้ำท่วม พื้นที่ชายฝั่งถูกน้ำทะเลเซาะหายไป ระบบนิเวศเสียความสมดุล สัตว์ พืช ฯลฯ หลายชนิดสูญพันธ์ุ ทำให้มีการขาดแคลนน้ำ อาหาร มีโรคภัยจากอากาศที่รุนแรงขึ้น
Greenhouse Gases (GHGs) หรือก๊าซเรือนกระจก เป็นก๊าซที่กักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ก๊าซเรือนกระจกหลักมี 5 ชนิดที่สำคัญ
1.คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ), การตัดไม้ทำลายป่า, กระบวนการทางอุตสาหกรรม CO2 สามารถอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานหลายร้อยปี เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากที่สุด (~76% ของ GHGs ทั้งหมด)
2.มีเทน (CH4) เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์ (วัว แกะ),การย่อยสลายขยะในหลุมฝังกลบ, การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ มีอานุภาพกักเก็บความร้อนมากกว่า CO2 ประมาณ 28 เท่า อยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 12 ปี
3.ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดจากปุ๋ยไนโตรเจนในภาคเกษตร, การเผาไหม้เชื้อเพลิง, กระบวนการอุตสาหกรรม มีอานุภาพกักเก็บความร้อนมากกว่า CO2 ประมาณ 265 เท่า อยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่า 100 ปี
4.ก๊าซฟลูออรีน (Fluorinated Gases) เกิดจากสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น, กระบวนการอุตสาหกรรม ประกอบด้วยก๊าซ 3 ชนิดหลัก 1) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) 2) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) 3) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) บางชนิดมีอานุภาพกักเก็บความร้อนมากกว่า CO2 หลายพันถึงหมื่นเท่า
5. ไอน้ำ (H2O vapor)-ก๊าซเรือนกระจกทางธรรมชาติ เกิดจากกระบวนการระเหยของน้ำในมหาสมุทร แม่น้ำ ทะเลสาบ ไอน้ำเองไม่ได้ทำให้โลกร้อนโดยตรง แต่ช่วยเสริมให้ก๊าซเรือนกระจกอื่นมีผลมากขึ้น
การลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานสะอาด ลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปลูกต้นไม้ และใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) เป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหา Climate Change
ทุกๆ คนในโลกนี้มีส่วนที่จะช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ดังที่จะกล่าวต่อในโอกาสต่อไป
นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี