เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย โดยเฉพาะการเกิดเหตุอาคารใหม่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พังถล่มเมื่อวันที่ 28 มีนาคม2568 และมีผู้คนมากมายติดอยู่ในอาคาร ทีมงานกู้ภัยพยายามช่วยนำตัวผู้รอดชีวิตออกจากซากอาคาร ในการนี้มีการใช้สุนัขกู้ภัย หรือ Urban Search And Rescue : USAR เข้าไปช่วยค้นหาผู้รอดชีวิต ร่วมถึงร่างของผู้เสียชีวิตภายใต้ซากอาคาร
เรามาทำความรู้จักสุนัขกู้ภัยกันนะครับ สุนัขค้นหาผู้รอดชีวิต(Disaster Search Dog หรือ SAR Dog) เป็นส่วนสำคัญของหน่วยกู้ภัยในเหตุการณ์พิบัติภัย เช่นแผ่นดินไหว สึนามิ อาคารถล่ม หรือเหตุพิบัติภัยขนาดใหญ่ที่มนุษย์เข้าถึงยาก จึงต้องใช้สุนัขเข้าช่วย แต่สุนัขต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษเพื่อตรวจจับกลิ่นมนุษย์ เพื่อช่วยลดเวลาการค้นหาของเจ้าหน้าที่ และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ประสบภัย
ประเภทของสุนัขค้นหาผู้รอดชีวิต
1.สุนัขค้นหาบนพื้นดิน (Ground Search Dogs) ใช้ในพื้นที่ภัยพิบัติทั่วไป เช่น อาคารถล่ม ดินโคลนถล่ม ทำงานร่วมกับทีมกู้ภัยเพื่อค้นหาผู้สูญหายใต้ซากปรักหักพัง
2.สุนัขค้นหาในพื้นที่กว้าง (Wilderness Search Dogs) ใช้ในพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ป่า ภูเขา
มักใช้ในกรณีผู้สูญหายระหว่างการเดินป่าหรือเหตุการณ์ธรรมชาติ
3.สุนัขค้นหาในน้ำ (Water Search Dogs) ฝึกให้ตรวจจับกลิ่นมนุษย์ในน้ำ เช่น เหตุการณ์เรือล่ม มักทำงานร่วมกับหน่วยกู้ภัยทางน้ำ
สายพันธุ์สุนัขที่ถูกฝึกเป็นสุนัขกู้ภัย
การทำงานของสุนัขค้นหา
1.การตรวจจับกลิ่นมนุษย์ สุนัขใช้ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นที่เฉียบคม รับกลิ่นได้ไกลกว่ามนุษย์ 1,000-10,000 เท่า สามารถแยกแยะกลิ่นมนุษย์จากกลิ่นอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมได้ดี
2. การส่งสัญญาณเมื่อพบผู้รอดชีวิต แบบ Passive Alert นั่งหรือยืนนิ่งบริเวณที่พบผู้ติดภัย แบบ Active Alert เห่า ขุดหรือแสดงอาการตื่นเต้น
3. การทำงานร่วมกับ Handler หรือผู้ฝึก โดยต้องสื่อสารกับสุนัขอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อระบุตำแหน่งที่ถูกต้อง
การฝึกสุนัขค้นหาผู้รอดชีวิต
1.การฝึกพื้นฐาน การเชื่อฟังคำสั่ง (Obedience Training) การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น เสียงดัง, ฝุ่น, สภาพอากาศรุนแรง
2.การฝึกเฉพาะทาง ฝึกการดมกลิ่นเป้าหมาย (Human Scent Detection) ฝึกการค้นหาในสถานการณ์จำลอง เช่น ใต้ซากอาคาร, ในพื้นที่ป่า ฝึกทำงานร่วมกับอุปกรณ์กู้ภัย เช่น ฮาร์เนส, วิทยุสื่อสาร
3.การรับรองมาตรฐาน หน่วยงานเช่น FEMA (สหรัฐอเมริกา) และ International Rescue Dog Organization (IRO) มีการทดสอบมาตรฐานก่อนใช้งานจริง
ตัวอย่างการปฏิบัติงานจริง
เหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา 2001
- สุนัขค้นหามากกว่า 300 ตัว ถูกส่งไปช่วยเหลือที่ Ground Zero
- สามารถค้นพบผู้รอดชีวิตและผู้เสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แผ่นดินไหว เนปาล, 2015
- ทีมสุนัขค้นหาจากต่างประเทศช่วยค้นหาผู้ติดภัยใต้ซากอาคาร
เหตุการณ์ถ้ำหลวง ไทย, 2018
- สุนัขค้นหาช่วยในการสำรวจพื้นที่ก่อนการช่วยเหลือนักฟุตบอลทีมหมูป่า
ประโยชน์ของสุนัขค้นหาในเหตุพิบัติภัย ค้นหาผู้รอดชีวิตได้เร็วกว่าวิธีอื่น ทำงานในพื้นที่ที่เครื่องมือหรือมนุษย์เข้าไม่ถึง ลดความเสี่ยงให้ทีมกู้ภัย ให้ความหวังกับครอบครัวผู้สูญหายได้มากขึ้น
ความท้าทายของสุนัขกู้ภัย อายุการทำงานของสุนัขมีจำกัด มักเกษียณอายุประมาณ 8-10 ปี ต้องได้รับการฝึกฝนและดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิบัติภัยที่อาจเป็นอันตรายต่อสุนัข
เราได้เห็นแล้วนะครับว่าสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของเรา สามารถช่วยเหลือชีวิตผู้คนได้ และช่วยเพื่อนสัตว์เลี้ยงด้วยกันได้ เขาน่ารักมากนะครับ เพราะฉะนั้น เรามาช่วยกันดูแลเขาให้มีสุขภาพแข็งแรงกันเถอะครับ
น.สพ.นนทษิต ชุติญาณวัฒน์
โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี