หลายคนเข้าใจว่าโรคพิษสุนัขบ้า เกิดเฉพาะฤดูร้อนหรือหน้าร้อนเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริง ๆ แล้วโรคนี้พบได้ในทุกฤดู เพียงแต่ในช่วงหน้าร้อนมีปัจจัยของอากาศที่ทำให้เห็นได้ค่อนข้างชัดว่าสุนัขมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ดังนั้น คนจำนวนไม่น้อยจึงเข้าใจว่าโรคพิษสุนัขบ้าเกิดเฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น
ดังนั้น คนที่เลี้ยงสุนัขจึงนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคกลัวน้ำในช่วงหน้าร้อน ทั้ง ๆ ที่สามารถนำสุนัขไปฉีดวัคซีนได้ทุกฤดูตามที่ครบวงรอบการฉีดวัคซีน
และยังมีเจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงอยู่ในระบบปิด ไม่มีโอกาสสัมผัสโรค และไม่น่าจะมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ทั้งที่จริงแล้วโรคนี้เป็นโรคติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู ก็สามารถเป็นพาหะของโรคพิษสุนัขบ้าได้ หากสัตว์เลี้ยงไปสัมผัสกับเชื้อจากหนูก็มีโอกาสติดโรคได้
และหากอ้างตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ผู้ครอบครองสัตว์เลี้ยงต้องพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคพิษสุนัขบ้ากันครับ
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากไวรัส Lyssavirus มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะหลัก โดยเฉพาะสุนัข แมว และสัตว์ป่าบางชนิด โรคนี้ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการทางสมอง อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนและการควบคุมสัตว์พาหะจึงมีความสำคัญอย่างมาก
สาเหตุและเชื้อก่อโรค
สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า คือ Rabies virus (RABV) ซึ่งเป็น RNA virus เชื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอก (bullet-shaped) และถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน แสงแดด และสารฆ่าเชื้อ เช่น เอทานอลและสารประกอบฟีนอลิก
การแพร่เชื้อโรคพิาสุนัขบ้า
1.ผ่านน้ำลาย โดยการถูกกัดหรือข่วนจากสัตว์ติดเชื้อ
2. สัมผัสเยื่อเมือก (ตา จมูก ปาก) กับน้ำลายที่ปนเชื้อ
3. การสูดดม (พบน้อยมาก มักเกิดในถ้ำที่มีค้างคาวจำนวนมาก)
สัตว์พาหะหลัก ได้แก่ สุนัข (เป็นพาหะหลักในประเทศกำลังพัฒนา) แมว สัตว์ป่า เช่น ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก แรคคูน สกั้งค์
อาการทางคลินิกในสัตว์เลี้ยง แบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก
1. แบบดุร้าย (Furious Rabies) ระยะแรก อาการไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้ ซึม เบื่ออาหาร
ระยะต่อมา: กระวนกระวาย ก้าวร้าว ไวต่อสิ่งเร้า กลืนลำบาก น้ำลายไหล อาจกัดสิ่งของหรือคนโดยไม่มีเหตุผล ตายภายใน 2–7 วัน
2. แบบอัมพาต (Paralytic/Dumb Rabies) อาการอัมพาต คอตก ขากระเผลก น้ำลายไหลเนื่องจากกลืนไม่ได้ มักไม่แสดงอาการดุร้าย ตายภายใน 3–5 วัน
การวินิจฉัย
1.การตรวจทางน้ำเหลือง (Serology) ตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อ
2.การตรวจทางเนื้อเยื่อ (Histopathology) พบ Negri bodies ในเซลล์ประสาท (เฉพาะในบางกรณี)
3.RT-PCR และการเพาะเชื้อไวรัส ตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสจากน้ำลายหรือสมอง
การวินิจฉัยหลังตาย (Post-mortem) โดยการตรวจสมองเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด
การป้องกันและควบคุมโรค
1. การฉีดวัคซีน ในสุนัขและแมว ควรฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 3–4 เดือน และกระตุ้นซ้ำทุกปี
ในสัตว์เลี้ยงอื่น เช่น เฟอร์เรต กระต่าย (ขึ้นกับความเสี่ยง)
2. การควบคุมสัตว์จรจัด ทำหมันและฉีดวัคซีนสัตว์เร่ร่อนเพื่อลดการแพร่เชื้อ
การจัดการเมื่อถูกสัตว์กัด ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดและสบู่อย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีน Rabies PEP (Post-Exposure Prophylaxis)
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การเฝ้าระวังและควบคุมสัตว์พาหะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดการระบาดในสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ การให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์เกี่ยวและกับเด็กที่มีชอบเล่นกับสุนัขมีความสำคัญมาก เช่น เมื่อเด็กโดนสุนัขกัดหรือข่วน ต้องบอกผู้ปกครองทันที เพื่อให้พาไปพบแพทย์ เพื่อรับวัคซีนทันที และสิ่งที่สำคัญเมื่อโดนกัดหรือข่วนแล้ว ต้องรับวัคซีน หากได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วก็จะปลอดภัย หากโดนกัดแล้วไม่รับวัคซีน เมื่ิอเกิดอาการขึ้นแล้ว ก็ไม่มีทางรักษาได้ แล้วต้องเสียชีวิตในทุกกรณี
น.สพ. นนทษิต ชุติญาณวัฒน์
โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี