หลังเกิดเหตุการณ์คณะของนายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารและกรรมการ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์และพวก เข้าไปตั้งแคมป์ล่าสัตว์ป่าในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมได้พร้อมของกลาง สัตว์ป่าถูกชำแหละ และอาวุธปืน เครื่องกระสุนจำนวนมาก ในพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก เมื่อวันที่ 4 ก.พ.61 ที่ผ่านมา ในจำนวนสัตว์ป่าที่ถูกล่าและถูกถลกหนังอย่างน่าเวทนาที่สุดตามที่เห็นเป็นข่าวก็คือ "เสือดำ"
ขนาด "เสือดำ" ที่อาศัยอยู่ในป่าลึกยังถูกล่ามาถลกหนังด้วยฝีมือมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าของเมืองไทย แล้วสัตว์ป่าสงวนอีกหลายตัวที่อยู่ในเมืองไทยในอนาคตพวกเขาจะรอดพ้นจากเงื้อมมือมนุษย์หรือไม่
แล้วสัตว์ป่าสงวนในเมืองไทยปัจจุบันนี้มีอยู่กี่ประเภท วันนี้เราจะไปท่านไปทำความรู้จักกับมัน ซึ่ง wikipedia ได้บันทึกของมูลไว้ดังนี้
............
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายากใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย
ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย
ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิด ได้แก่
1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
2.แรด (Rhinoceros sondaicus)
3.กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
4.กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
5.ควายป่า (Bubalus bubalis)
6.ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
7.สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
8.เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
9.กวางผาจีน (Naemorhedus griseus)
10.นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
11.นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
12.แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
13.สมเสร็จ (Tapirus indicus)
14.เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
15.พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)
16.วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
17.วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
18.เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)
19.ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
ข้อมูลจาก wikipedia
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี