ภายหลังจากชุดค้นหากลุ่มเด็กนักเรียนชายทีมฟุตบอล “หมูป่าอคาเดมี่” 12 คน พร้อมโค้ชอีก 1 คน รวมเป็น 13 คน ติดอยู่ใน“ถ้ำวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เข้าสู่วันที่ 4 นับตั้งแต่เย็นวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่พบเด็กกลุ่มดังกล่าว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายฝ่ายระดมกำลังค้นหาช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง โดยมีความหวังจะเจอ 13 ชีวิต รอดออกมาอย่างปลอดภัยแน่นอนในส่วนของครอบครัว และญาติของทั้ง 13 คน ที่หายตัวไปในถ้ำ ต่างจดจ่อรอคอยด้วยความหวัง และอยากให้ลูกหลานกลับมาคืนสู่อ้อมอก โดยทำทุกวิถีทาง ทั้งกราบไหว้เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าแม่ดอยนางนอน ผู้ดูแลปกปักรักษาถ้ำ ได้เปิดทางให้พบ 13 ชีวิต ตามความเชื่อ แม้แต่พิธีทางไสยศาสตร์ และจัดหาร่างทรงมาทำพิธี
และเช้าวันนี้ (26 มิ.ย.61) ครอบครัวของทั้ง 13 คน ได้ทำพิธีฮ่องขวัญ หรือเฮียกขวัญ ซึ่งเป็นพิธีเรียกขวัญ ตามประเพณีชาวล้านนา มีการยกยอ พร้อมทั้งสวดมนต์ภาวนา และนำเครื่องดนตรี ตีฆ้อง ฉิ่งฉาบมาบรรเลงหน้าปากถ้ำ เรียกขวัญกำลังใจให้ 13 คน และเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาล ให้การค้นหาของเจ้าหน้าที่ประสบความสำเร็จ
“ทีมข่าวแนวหน้าออนไลน์” จึงไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำพิธี “เรียกขวัญ” ว่ามีพิธีกรรมกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และทำขึ้นเพื่ออะไร? พิธีกรรมลักษณะนี้อยู่บนรากฐานความเชื่อทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตของคนไทยในทุกท้องถิ่นแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตาม วัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นนั้น
ความหมายของคำว่า “ขวัญ” หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็จะเป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนได้รับผลร้ายต่างๆ
ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าขวัญจะอยู่ประจำตัวเป็นพลังที่ช่วยในการปกป้องรักษาเจ้าของขวัญให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขไม่ เจ็บไม่ป่วย แต่เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือออกจากร่างจะเป็นเหตุให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ อาจเรียกได้ว่า ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อ ขวัญเสียหรือเสียขวัญ ทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ถ้าต้องการให้ขวัญกลับคืนสู่ตัวและชีวิตเป็นปกติสุข จำเป็นต้องทำ “พิธีฮ่องขวัญ”
นอกจากนี้ การฮ่องขวัญมีหลายลักษณะ เช่น การฮ่องขวัญเกี่ยวกับคน คือ การเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขวัญคนที่ประสบอุบัติเหตุ ขวัญเด็ก ขวัญสามเณร ขวัญนาค ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ใหญ่ที่เคารพ การฮ่องขวัญของผู้ที่มีการเปลี่ยนผ่านสถานภาพ (เปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ การงาน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย จบการศึกษา) การฮ่องขวัญ ผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรติแขกที่มาเยือน การฮ่อง ขวัญหลังจากการทำเกษตรที่ใช้แรงงานแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูและการขอขมาลาโทษ คือ ขวัญข้าวขวัญควาย และการฮ่องขวัญสิ่งของเพื่อเสริมสร้างความอุ่นใจแก่เจ้าของผู้ใช้ คือ ขวัญบ้าน ขวัญเสาเรือน ขวัญเกวียน เป็นต้น
การฮ่องขวัญจะต้องทำบายศรีทำนองเดียวกับบายศรีปากชาม แต่ทางเหนือนิยมทำบายศรีในขัน หรือที่เรียกว่า “สะหลุง” ทำด้วยเงินหรือเครื่องเขินและมีพานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีข้าวปั้น กล้วย 1 ใบ ไข่ต้ม 1 ลูก และดอกไม้ธูปเทียน และด้ายขาวสำหรับผูกมือ การทำบายศรีนี้เห็นนิยมใช้ในการทำบุญอื่นๆ เช่น ขึ้นเรือนใหม่ แต่งงาน เป็นต้น การทำพิธีก็ต้องมีอาจารย์เป็นผู้กล่าวคำฮ่องขวัญ ด้วยสำนวนโวหารแบบโบราณ ที่เกจิอาจารย์แต่งไว้อย่างคล้องจอง และมีท่วงทำนองการอ่านอย่างน่าฟัง เพื่อให้คนที่ได้รับการ “ฮ่องขวัญ” เกิดกำลังใจขึ้น โวหารในการฮ่องขวัญก็มีอยู่ว่า ขวัญทั้ง 32 ขวัญนั้นอยู่ในตัวบุคคลที่ไหนบ้าง และหากขวัญแห่งใดหายไปก็ขอให้กลับคืนมาอยู่กับเนื้อกับตัวเสีย การอ่านโองการประมาณ 10-15 นาทีก็จบ แล้วอาจารย์ก็จะผูกมือให้ โดยผูกมือข้างซ้ายก่อน มีความว่า มัดมือซ้ายขวัญมา มัดมือขวาขวัญอยู่ ขอให้ขวัญจงกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวอย่าล่องลอยไปไหนอีก และขอให้มีอายุมั่นยืนยาวตลอดไปเทอญ เป็นจบพิธี การผูกมือต้องผูกทั้งสองข้าง บางคนก็จะผูกติดตัวไว้ถึง 3 วันจึงเอาออก แต่เด็กๆ เห็นผูกจนด้ายดิบสีขาวกลายเป็นสีดำไปก็มี
ส่วนการ “ส่งแถน” เป็นการ “ส่งเคราะห์” อีกแบบหนึ่ง การ “ส่งแถน” นี้จะทำเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นแก่บุคคลในครอบครัว และเมื่อได้รักษาพยาบาลมาพอสมควรอาการก็ไม่ทุเลาลง มีแต่ทรงกับทรุดเช่นนี้ตามจารีตของคนเมือง (หรือไทยยวน) ก็จะไปให้ “หมอเมื่อ” (หมอดู) ตรวจดวงชะตาของผู้ป่วยว่า ชะตาจะถึงฆาตหรือไม่ ดวงยังดีอยู่ไหม หากหมอเห็นว่าเกณฑ์ชะตาค่อนข้างแย่ ก็จะพลิกตำราการ “ส่งแถน” ออกมาดูว่าคนเกิดปีไหน อายุเท่าไรจะถึงฆาต และจะต้องทำการ “ส่งแถน” สะเดาะเคราะห์ และจะต้องทำพิธีอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม การ “ส่งแถน” เป็นพิธีสืบทอดกันมาช้านานแล้วเช่นกัน
หรับการแต่งดาใส่ขันตั้งให้หมด บายศรีฮ่องขวัญ การฮ่องขวัญนั้นให้แต่งเครื่องข้าวขวัญ คือ ทำเครื่องขันบายศรีปักด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายสี หลายอย่างเป็นพุ่มพวงงามมีด้าย 9 เส้นรอบเวียนบายศรี ข้างในขันให้ใส่ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องคาว - หวานเมื่อแต่งดาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทำพิธีฮ่องขวัญ การฮ่องขวัญ ก่อนฮ่องขวัญต้องทำพิธีกล่าว ทำปัดเคราะห์ ปัดภัยเสียก่อน โดยพ่อหมอหรืออาจารย์จะกล่าวคำปัดเคราะห์ ปัดภัยเป็นภาษาพื้นเมือง เมื่อกล่าวคำปัดเคราะห์ปัดภัยเสร็จหมดแล้วจะทำพิธีกล่าวคำฮ่องขวัญต่อไป พร้อมทั้งมีการมัดมือด้วยด้าย 9 เส้นเริ่มจากข้อมือซ้ายก่อนแล้วมัดข้อมือขวา ในระหว่างที่มัดข้อมือพ่อหมอหรืออาจารย์ก็จะกล่าวคำให้พรตลอด จนกว่าจะเสร็จ
สำหรับสื่งสำคัญในการทำพิธีกรรม “ฮ่องขวัญ” คือ สวยหมาก 4 สวย, พลู 4 สวย, สวยดอก 4 สวย, เทียนน้อย 4 คู่, เทียนเล่มละ 1 บาท 2 คู่, ข้าวเปลือก 1 ลิตร, ข้าวสาร 1 ลิตร, เบี้ยพันสาม, หมากพันสาม, ผ้าขาว-ผ้าแดง, เงิน 3 บาท
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี