5 ต.ค.61 เวลา 08.00 น. ที่บริเวณสำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้จัดการประกวดการห่อข้าวต้มแบบโบราณ หรือ ข้าวต้มห่อใบมะพร้าว ซึ่งเป็นข้าวต้มพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ ที่ใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ หรืองานประเพณีแซนโฎนตา (แซน-โดน-ตา) ในวันเบญธม หรือวัน “สารทใหญ” ของคนไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งทางเทศบาลเมืองเมืองสุรินทร์กำหนดจัดขึ้น โดยมีชุมชนต่างๆทั้ง 32 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ส่งตัวแทนเข้าประกวด ร่วมสืบสาน “งานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ประจำปี 2561 เพื่ออนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวสุรินทร์ สร้างจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ มีความรักความสามัคคีและได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและบรรพบุรุษ โดยจัดให้มีการประกวดข้าวต้มมัด และพิธีแซนโฎนตา หรือการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
โดยแบ่งประกวด และรางวัลดังนี้ 1.ประกวดข้าวต้มมัด(ไส้กล้วย) 2.การประกวดข้าวต้มมัด(ไส้หมู) 3.การประกวดข้าวต้มมัด(ไส้ถั่วเหลือง หรือไส้เผือก) 4.การประกวดข้าวต้มใบมะพร้าว (ไส้กล้วย) 5. .การประกวดข้าวต้มใบมะพร้าว (ไส้หมู) และการประกวดข้าวต้มต่างๆ รางวัลประกวด ประเภทละ 3 รางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับเงินสด 3,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับเงินสด 2,000 บาท พร้อมโล่รางวัล โดยมีกติกาการแข่งขัน ต้องทำภายในเวลา 3 ช.ม. เริ่มการประกวดข้าวต้มมัด กรรมการให้คะแนนการประกวดข้าวต้มมัด
ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนาน นับเป็นพัน ๆ ปีของชาวเขมรพื้นเมืองชาวสุรินทร์ รวมไปถึงชาวกูย ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูรู้คุณ ของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นลูก หลาน ญาติ พี่น้องที่ไปประกอบอาชีพ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลจะต้องเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา เป็นประจำทุกปี
แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวงโฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ปู่ย่า ตายาย หรือ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วประเพณีแซนโฎนตา จึงหมายถึง ประเพณีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ที่นับได้ว่าเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยเชื้อสายเขมร มีการสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน สำหรับปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคมนี้ ซึ่งในแต่และบ้านก็จะรวมกันจัดพิธีขึ้น
นางทองจันทร์ มุมเรืองทอง อายุ 56 ปี ชาวชุมชนหลังตลาดเทศบาลเมืองสุรินทร์ กล่าวว่า การห่อข้าวต้มแบบโบราณดังเดิมของชาวสุรินทร์ ไม่ยาก แต่ต้องทำตามกระบวนการแบบโบราณดั่งเดิม ห่อข้าวต้มด้วยใบมะพร้าว ซึ่งจะต้องเตรียมข้าวเหนียวใหม่ ใบมะพร้าวอ่อน มะพร้าว กล้วยน้ำหว้า ถั่วดำ โดยจะนำข้าวเหนียวมีผสมถั่วดำและมะพร้าว จากนั้นก็ห่อด้วยใบมะพร้าว นำกล้วยลงไปวางกล้วยก่อนมัดแล้วนำไปต้ม ข้าวต้มมัดห่อด้วยมะพร้าวถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพิธีแซนโฎนตา ของชาวสุรินทร์ เชื้อสานเขมร ที่ภาษาเขมร เรียกว่า อันซอมเบญ ต้องทำจากใบมะพร้าวเท่านั้น ขาดอย่างอื่นขาดได แต่ขาดอันซอมโดงไม่ได้เด็ดขาด เหมือนกับว่าเซ่นไปจากไม่ถึงบรรพบุรุษ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี