8 มี.ค.62 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า ไดเพบกับนายศักดิ์ชัย เอิบทวี อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 ม.9 ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ หนึ่งในเกษตรกรที่หันมาเลี้ยงวัวพันธุ์วากิว กล่าวว่า หลังจากยางพาราตกต่ำ ตนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก รายรับไม่พอกับรายจ่าย ยิ่งช่วงนี้อยู่ในช่วงเปิดเทอม ยิ่งเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงได้รวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านมาลงทุนเลี้ยงวัวพันธุ์วากิวโดยเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ในกลุ่มมีวัวพันธุ์ประมาณ 50 ตัว ของตนเองมีประมาณ 5 ตัว
การเลี้ยงวัวพันธุ์ผสมนั้น แรกๆเลี้ยงยากมากเนื่องจากยังไม่มีความรู้ด้านนี้ จึงแบบปล่อยในทุ่งเลี้ยงสัตว์ ปล่อยให้หากินหญ้าตามธรรมชาติแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้รวมกลุ่มกันหันมาเลี้ยงวัวพันธุ์ลูกผสม ที่กำลังต้องการของตลาดอยู่ในเวลานี้ และไม่เพียงต่อความต้องการของตลาดอย่างมาก โดยขายได้ราคาดีแค่เฉพาะลูกวัวอายุ 5 เดือน ก็มีตัวแทนกลุ่มวากิว จากสุรินทร์มารับซื้อในราคาตัวละ 25,000 บาท ตอนนี้ตนมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวพร้อมปล่อยขาย อีกทั้งขี้วัวยังสามารถขายได้กระสอบละ 40-50 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มอีกเดือนละประมาณ 5,000 บาท
ด้านนายธีรนิติ์ โรจนเสถียร ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนตำบลเทพรักษา เผยว่า ที่มาของโคเนื้อพันธุ์ใหม่ ไทยแบล็ค-วากิว (Thai Black Wagyu) อันเกิดจากการนำแม่พันธุ์โคเนื้อพื้นเมืองของไทย มาผสมน้ำเชื้อโคเนื้อพันธุ์แองกัส จากสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นพันธุ์ที่โตเร็ว เนื้อมีคุณภาพดี นุ่มมีไขมันแทรก และเป็นพันธุ์โคขุนชั้นเยี่ยมได้รับการยอมรับในระดับโลก ที่สำคัญตัวเป็นสีดำ เหมือนวัววากิวหรือวัวญี่ปุ่นจนได้เป็นวัวลูกครึ่งไทย - แองกัส ทำการคัดเลือกวัวเพศเมียลูกครึ่งลักษณะดี มีไขมันแทรกสูง โดยใช้วิธีตรวจสอบไขมันด้วยอัลตราซาวนด์ และตรวจ DNA มาเป็นแม่พันธุ์เพื่อผสมน้ำเชื้อกับวัววากิวจากญี่ปุ่นอีกชั้นหนึ่ง
แต่กว่าจะได้เป็นไทยแบล็ก-วากิว ไม่ใช่ว่าเอาแม่โคลูกครึ่งมาผสมกับน้ำเชื้อวากิวแล้วจะได้เลย ต้องผสมพันธุ์อย่างน้อยอีก 2 รุ่น เพื่อให้ได้โคเนื้อที่มีสายเลือดวากิว 75% แองกัส 12.5% พื้นเมืองไทย 12.5% และเพื่อให้ชัวร์ว่าใช่พันธุ์ที่เราต้องการแน่ ต้องใช้วิธีตรวจอัลตราซาวนด์ และ DNA วัวมีสายเลือดที่นิ่งแล้ว ถึงจะสามารถนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงได้ ถึงดูจะมีขั้นเลี้ยงที่ยุง่ยากพอสมควรแต่ถ้าเกษตรกรมีการวางแผนการเลี้ยงที่ถูกต้องก็จะทำให้เกษตรไม่ขาดทุน นับเป็นอีกหนึ่งทางรอดของเกษตรไทย ยามที่เศรษฐกิจยางพาราที่เป็นพืชหลักของชุมชนต.เทพรักษา มีราคาไม่สู้ดีหนักในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี