หมอนทองครองโลก ตะลึงชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวนิยมซื้อทุเรียนจากตลาดสดและตลาดผลไม้ ไปรับประทานเฉลี่ยเกือบวันละ 8 ตัน ขณะที่แม่ค้าขายส่งเผยปีนี้ราคาทุเรียนแพงแต่นักท่องเที่ยวยังนิยมซื้อมารับประทาน ทำให้แต่ล่ะวันรับทุเรียนมาจำหน่ายวันล่ะ 5-6 ตัน ส่วนเทศบาลนครเชียงใหม่ ต้องเก็บเปลือกทุเรียนจากตลาดสดและครัวเรือนวันล่ะ 8 ตัน นำไปทำปุ๋ยหมักแจกชาวบ้าน
10 พ.ค.62 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปสำรวจแผงผลไม้ในตลาดเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบประชาชนและนักท่องเที่ยวต่อแถวแห่ซื้อทุเรียนอย่างหนาแน่น แม้ว่าราคาทุเรียนช่วงนี้จะพุ่งสูงขึ้น กิโลกรัมละ 140-200 บาท แต่ชาวเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวจีนยังให้ความนิยมซื้อทุเรียนมารับประทานอย่างคึกคัก ตลอดทั้งวัน
นางณัฏฐพัชร์ จีรจิตต์ เจ้าของแผงค้าผลไม้ในตลาดเมืองใหม่ เปิดเผยว่า ปีนี้ผลผลิตทุเรียนมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งทุเรียนที่ออกช่วงนี้จะเป็นทุเรียนจากภาคตะวันออก ซึ่งได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศโดยเฉพาพอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนจะชื่นชอบทุเรียนมากบางครั้งนักท่องเที่ยวที่มาเลือกซื้อทุเรียนทางร้านจะแกะเปลือกทุเรียน เหลือแต่ใส่ถาดให้นักท่องเที่ยวบางรายจะยืนรับประทานกันที่หน้าร้าน
ส่วนคนไทยจะนิยมซื้อไปรับประมานที่บ้านโดยส่วนใหญ่จะนิยมให้แกะเปลือกทุเรียนให้ สำหรับทุเรียนที่นำมาจำหน่ายจะเป็นพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ก้านยาว โดยตนไปรับซื้อถึงที่มาจำหน่ายวันล่ะ 5-6 ตัน นำมาขายปลีกกิโลกรัมล่ะ 140-200 บาท ขณะที่ช่วงเดือนมิถุนายน ทางร้านจะนำทุเรียนมาจากจังหวัดทางภาคใต้และ จังหวัดอุตรดิตถ์ มาจำหน่ายซึ่งจะทำให้ทุเรียนที่นำมาขายมีมากกว่าช่วงนี้
นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี เป็นฤดูออกผลผลิตของทุเรียนทั้งจากทางภาคตะวันออกและจากทางภาคใต้ ซึ่งทุเรียนเป็นผลไม้ที่นิยมของผู้บริโภค แต่ล่ะวันมีการคาดการณ์กันว่าแต่ล่ะวันในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จะมีการบริโภคทุเรียนประมาณ 8-9 ตัน (น้ำหนักทุเรียนทั้งลูกรวมน้ำหนักทั้งเปลือกและเนื้อทุเรียน)
ปัญหาที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือขยะจากเปลือกทุเรียน ที่ทิ้งส่วนมากมาจากตลาดสดประมาณ 4-5 ตันต่อวัน คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มอบหมายให้ฝ่ายจัดการสภาพแวดล้อมฯ ส่วนช่างสุขาภิบาลจะดำเนินการเก็บเปลือกทุเรียนจากตลาดร้านค้า และเปลือกทุเรียนอีกประมาณ 3-4 ตัน คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์จะถูกทิ้งจากขยะครัวเรือนของผู้บริโภคเอง หากรวมปริมาณขยะเปลือกทุเรียนแล้ว จะมีปริมาณไม่ต่ำกว่า 8 ตันต่อวัน ซึ่งตั้งแต่ผลผลิตทุกเรียนออกทางเทศบาลจัดเก็บเปลือกทุเรียนมากองไว้รวมน้ำหนักประมาณ 100 ตัน
ดังนั้น เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้หาวิธีการลดปริมาณขยะมูลฝอย การกำจัดโดยการเผาจะมีผลกระทบต่อสภาวะอากาศและหากนำไปกำจัดโดยฝังกลบจะต้องใช้งบประมาณการกำจัดตันละ 900 บาท เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ทางฝ่ายจัดการสภาพแวดล้อมฯ ส่วนช่างสุขาภิบาล ได้รับนโยบายจากนายกเทศมนตรีในการคัดแยกขยะจากต้นทาง โดยนำเศษวัสดุเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเปลือกทุเรียน, ลูกมะพร้าว และเศษสับปะรด มาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ ที่บริเวณสวนหลวงล้านนา ร.9 เมื่อได้ปุ๋ยหมักก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน และใช้ในหน่วยงานของเทศบาลเชียงใหม่ อีกด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี