เป็นเชือกแรกของโลกความสำเร็จของการใช้โบท๊อกซ์ในการรักษาช้างที่มีอาการกล้ามเนื้อขากรรไกรแข็งเกร็งอ้าปากไม่ได้ เผยทางสัตวแพทย์วินิจฉัยพบกรามของช้างผิดปกติ จึงได้รักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ ให้สารน้ำทางเส้นเลือดวันละไม่ต่ำกว่า 40-50 ลิตร ให้สารอาหารที่ปั่น เช่นกล้วย สับปะรด หญ้า เพื่อเสริมวิตามินให้ละเอียดแล้วผสมน้ำจนมาสำเร็จในการใช้โบท๊อกซ์ ตอนนี้อาการของช้างเชือกนี้หายเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นแล้ว
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ที่อาคารคลีนิคสุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะสัตว์แพทย์ศาสาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้แถลงข่าวถึงความสำเร็จในการใช้โบท๊อกในการรักษาช้างพังรุ่งนภา วัย 50 ปี เพื่อรักษาอาการแข็งเกร็งอ้าปากไม่ได้ ด้วยการนำศาสตร์และองค์ความรู้ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการรักษา ซึ่งพังรุ่งนภา ถือเป็นตัวแรกของโลก
โดยมีทีมแพทย์ รศ.นสพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ คณะแพทย์ศาสาตร์มหาวิทยาลัยเกษตรวิทยาเขต กำแพงแสน, ผศ.นสพ.ดร.วีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ คณะแพทย์ศาสาตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อาจารย์ สพญ.ดร.สุภาเพ็ญ ศรีวิบูลย์ คณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเกษตรวิทยาเขตกำแพงแสน, สพญ.วรางคณา ลังกาพินธุ์ สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ, นสพ.ทวีโชค อังควานิช สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ พร้อมด้วย พญ.พรเอื้อ บุญยไพศาลเจริญ แพทย์ปฏิบัติการด้านผิวหนังในคน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่มีอาการป่วย และเร่งช่วยชีวิตช้างพังรุ่งนภาที่ป่วย ไม่สามารถอ้าปากและเคี้ยวอาหารได้ ส่วนสาเหตุยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนและพบไม่บ่อยในสัตว์ใหญ่ต้องรักษาไปตามอาการ และได้ประสานภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเร่งเข้ามาตรวจและวินิจฉัยให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะให้ช้างเชือกนี้มีชีวิตอยู่รอด
โดยในเบื้องต้นได้มีการระดมทีมสัตว์แพทย์จากหลากหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ สัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สัตวแพทย์มหาลัยเกษตรศาสตร์ สัตวแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล และอีกหลายแห่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบวินิจฉัยอาการ และเริ่มให้การรักษาพังรุ่งนภาที่โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา พบว่าช้างไม่สามารถอ้าปากได้เคี้ยวอาหารได้
จากการตรวจพบฟันของช้างไม่สบกัน แต่เมื่อรักษาไปแล้วพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น ทางสัตวแพทย์ก็วินิจฉัยพบกรามของช้างผิดปกติ จึงได้รักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ ให้สารน้ำทางเส้นเลือด วันละไม่ต่ำกว่า 40-50 ลิตร ให้สารอาหาร ที่ปั่น เช่น กล้วย สับปะรด หญ้า เพื่อเสริมวิตามิน ให้ละเอียดแล้วผสมน้ำ สอดผ่านทางสายยางเข้าไปยังกระเพาะอาหาร ครั้งละ 30-40 กิโลกรัม วันละ 3 ครั้ง รวมทั้งให้สารอาหารทางทวารหนัก เพื่อให้ร่างกายช้างได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และให้พลาสม่าหรือน้ำเลือดช้าง ที่ได้รับบริจาคจากพังประจวบ ช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เพื่อให้โปรตีนทดแทนในส่วนที่ขาด
โดยจากการรักษาผ่านมาแล้ว 1 เดือน พบว่าช้างมีอาการที่ทรงตัว แต่ยังถือว่าอาการน่าเป็นห่วง ยังคงต้องตรวจสอบและวินิจฉัยกันต่อไปว่าสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งการป่วยลักษณะนี้ เกิดขึ้นไม่บ่อยมากนัก หรือว่าแทบจะไม่เคยเกิดขึ้น แต่เมื่อช้างป่วยแล้วก็จะเร่งตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะรักษาช้างให้มีชีวิตยืนยาว และวันนี้ที่อาคารคลีนิคสุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทย์ศาสาตร์วิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน
รศ.นสพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรวิทยาเขตกำแพงแสน ได้ให้ข้อมูลว่าพังรุ่งนภา อายุ 50 ปี ป่วยมาด้วยอาการแข็งเกร็งอ้าปากไม่ได้ มารักษาตั้งแต่ปี 2561 มารักษาที่อาคารคลีนิสุขภาพช้างและสัตว์ป่าคณะเกษตรวิทยาเขตกำแพงแสน อาการแบบนี้ไม่พบบ่อยในสัตว์ใหญ่ทางทีมแพทย์ได้ระดมช่วยเหลือพังรุ่งนภา เบื้องต้นโดยทำการรักษาทั้งใช้ยาปฏิชีวนะ และมีการให้อาหารทางสายยาง พังรุ่งนภาอาการไม่ดีขึ้น จนต้องรับขอรับบริจาคเลือดจากศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จนอาการทรงตัว ทีมแพทย์ช่วยกันระดมความคิดว่าจะทำอย่างงัยให้พังรุ่งนภากลับมากินอาหารได้ปรกติ จึงคิดค้นว่าการโบท๊อกมาใช้กับสัตว์ใหญ่น่าจะช่วยได้ จึงมีการนำโบท๊อกมาฉีดให้พังรุ่งนภา ทั้งหมด 3ครั้ง และอาการของพังรุ่งนภาก็เริ่มขยับ
พญ.พรเอื้อ บุญยไพศาลเจริญ แพทย์ปฏิบัติการด้ายผิวหนัง รพ.บางปะอิน ได้มาช่วยระดมความคิดช่วยเหลือพังรุ่งนภา โดยใช้โบท๊อกฉีดให้กับพังรุ่งนภา ใช้เวลาประมาณ 2อาทิตย์ ก็กลับมาเคี้ยวอาหารและอ้าปากได้ปรกติ การที่ใช้โบท๊อกนั้นสามารถใช้ทั้งสัตว์และคนได้จะต้องนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี