อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ม.มหิดล ศึกษาวิจัยค้นพบ "ถั่วอัลฟัลฟ่า" ราชินีแห่งพืชอาหารสัตว์ สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพดินที่เป็นลักษณะดินแดงในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 13 กันยายน 2562 อาจารย์ธนากร เที่ยงน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา คณะอาจารย์และนักศึกษา ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ทำแปลงสาธิตส่งเสริมการปลูกถั่วอัลฟัลฟ่า ร่วมกับชุมชน
โดยทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยอาจารย์ ดร.จุฑามาศ สุคนธปฏิภาค อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และอาจารย์ น.สพ.ดร.สราวุฒิ ทักษิโณรส อาจารย์ประจำโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าปศุปาลัน คณะสัตวแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยนักศึกษา รายวิชา KAAG 206 ส่งเสริมการเกษตร ได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการ ทำแปลงสาธิตส่งเสริมการปลูกถั่วอัลฟัลฟ่า ซึ่งเป็นราชาของพืชอาหารสัตว์ เพื่อเป็นพืชทางเลือก ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่หมู่บ้านไตรรัตน์ หมู่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีผู้ใหญ่เอนก อ่อนช้อย และชุมชนบ้านไตรรัตน์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฎิบัติการทำแปลงเกษตร
สำหรับถั่วอัลฟัลฟ่า Medicago sativa L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว ลำต้นสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร เจริญเติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก ลำต้นมีระบบรากที่มหัศจรรย์ เพราะในบางพื้นที่รากของต้นอัลฟัลฟ่าสามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้มากและบริสุทธิ์กว่าพืชอื่น ๆ อีกทั้งต้นอัลฟัลฟ่าเองก็จะไม่สะสมสารพิษอีกด้วย
ถั่วอัลฟัลฟ่า มีดอกเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงิน เป็นพืชอาหารสัตว์ตระกูลถั่วที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ชาวอาหรับขนานนาม ว่า "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล" เป็นพืชที่ปลูกกันแพร่หลาย แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องจากขาดความรู้วิธีการปลูกและดูแลรักษา อีกทั้งยังมีความเชื่อเก่าๆว่าถั่วอัลฟัลฟ่าเป็นพืชเมืองหนาวไม่สามารถที่จะนำมาปลูกในพื้นที่เขตร้อนแบบประเทศไทย และยังหาซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วอัลฟัลฟ่าได้ยาก ถึงแม้จะได้รับเมล็ดพันธุ์มาแล้วเมื่อนำมาปลูกก็มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงอีกมาก
ส่วนต้นถั่วอัลฟัลฟ่าที่ออกดอกก็ติดเมล็ดได้น้อยไม่เพียงพอต่อการขยายพันธุ์ในปีต่อๆไปในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องจากขาดความรู้วิธีการปลูกและดูแลรักษา อีกทั้งยังมีความเชื่อเก่าๆว่าถั่วอัลฟัลฟ่าเป็นพืชเมืองหนาว ไม่สามารถที่จะนำมาปลูกในพื้นที่เขตร้อนแบบประเทศไทย และยังหาซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วอัลฟัลฟ่าได้ยาก ถึงแม้จะได้รับเมล็ดพันธุ์มาแล้วเมื่อนำมาปลูกก็มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงอีกมาก ส่วนต้นถั่วอัลฟัลฟ่าที่ออกดอกก็ติดเมล็ดได้น้อยไม่เพียงพอต่อการขยายพันธุ์ในปีต่อๆไป
แต่ในปัจจุบันถั่วอัลฟัลฟ่าสามารถปลูกได้ทั่วโลกเนื่องจาก สามารถปรับตัวเข้ากับเขตอบอุ่นและกึ่งร้อนได้ดี ได้ในดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง สําหรับในประเทศไทย รายงานผลว่ามีการนำถั่วอัลฟัลฟ่า เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2482
ล่าสุด จากผลการวิจัยเรื่องผลของชนิดวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของถั่วอัลฟัลฟ่า พบว่า ถั่วอัลฟัลฟ่า สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ดี ในสภาพดินที่เป็นลักษณะดินแดง ดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ําดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ อย่างดินในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโอกาสการสร้างรายได้และพร้อมที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกเพื่อเป็นพืชทางเลือก และลดการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตร ได้ต่อไปอีกด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี