เป็นประจำทุกปี หลังหมดฤดูน้ำหลาก แม่น้ำยม ต้องตกอยู่ในสภาพแห้งขอด จนเห็นพื้นทราย ในท้องแม่น้ำ ตลอดของแม่น้ำยมที่ไหลผ่าน พื้นที่จังหวัดพิจิตร ตลอดระยะ ทาง กว่า 124 กิโลเมตร ต้องเกิดภัยแล้งตลอดลำน้ำ ของแม่น้ำยม ส่งผลกระทบกับประชาชน เกษตรกร สัตว์เลี้ยง และ ระบบนิเวศในแม่น้ำ ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน
นายสงบ สังวร ชาวบ้านตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า แม่น้ำยมในปีนี้ แห้งเร็วกว่าทุกปี โดยแห้งตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งชาวบ้านเกือบทั้งหมด ตลอดแม่น้ำยมเป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนาข้าว ซึ่งแม่น้ำยม มีส่วนสำคัญและ เป็นแหล่งน้ำหลัก ของการทำนา รวมถึงน้ำใช้ในการอุปโภค รวมถึงระบบประปาหมู่บ้าน ซึ่งหลังมีโครงการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำ ที่สร้างด้วยคอนกรีต ที่ทำการกั้นขวางแม่น้ำยม ก็ยิ่งมีความสำคัญ ที่ชาวบ้านและเกษตรกรอยากจะได้ เพื่อช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ ในช่วงหน้าแล้งได้
ขณะที่ นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร ในฐานะ ผู้ประสานเสนอโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำยม โดยมีกรมชลประทาน และ สำนักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการโครงการก่อสร้าง โดยออกแบบ การก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านท่าแห ในตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ซึ่งอยู่ตอนบนของแม่น้ำยม เป็นอาคารคอนกรีต 4 ช่องระบายน้ำ ครอบคลุมประโยชน์ กว่า 10,000 ไร่ ใน 7 ตำบล 2 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดพิจิตร และ ประตูระบายน้ำบ้านวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำคอนกรีต 5 ช่องระบายน้ำ ครอบคลุมประโยชน์ กว่า 37000 ไร่ ในพื้นที่ 8 ตำบล ของอำเภอสามง่าม และ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะแล้วเสร็จ ในปี 2565 ซึ่งหากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเกิดประโยชน์ กับชาวบ้าน และ เกษตรที่ใช้แม่น้ำยม เป็นแหล่งน้ำต้นทุน
นายชาติชาย กล่าวอีกว่า ประตูระบายน้ำ ทั้ง 2 แห่ง หากมีการดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถ สร้างประโยชน์ กับชาวบ้านและเกษตรกร ในพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดพิจิตร ในการเก็บกักน้ำ ซึ่งหากมีการดำเนินการ สร้างประตูระบายน้ำ เพิ่มอีก 3 แห่ง ให้ครบ 5 แห่ง ทำการกั้นแม่น้ำยม ตลอดสาย ในระยะทาง 124 กิโลเมตร ที่ดำเนินการบริหารจัดการควบคู่ไปกับ การผันน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากไหลลงแหล่งแก้มลิงกักเก็บน้ำเชื่อว่าจะแก้ปัญหาแม่น้ำยมในช่วงหน้าแล้งได้อย่างยั่งยืน
โดยโครงการประตูระบายน้ำท่าแห บ้านท่าแห ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มีลักษณะเป็นประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก บานระบายชนิดบานตรง มีช่องระบายน้ำ กว้าง 10 เมตร สูง 9 เมตร จำนวน 4 ช่อง งบประมาณ 350 ล้านบาท สามารถเก็บกักน้ำเหนือประตูระบายน้ำในลำน้ำยมและลำน้ำสาขาที่อยู่ในระยะทดน้ำ ได้ความจุประมาณ 16.75 ล้าน ลบ.ม. เป็นแหล่งน้ำให้ราษฎรสามารถนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืช โดยการสูบน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรโดยตรง ซึ่งพื้นที่รับประโยชน์กว่า 10,000 ไร่
ในส่วน ประตูระบายน้ำบ้านวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ขนาดความสูง 13 เมตร ยาว 72.5 เมตร ช่องระบายน้ำจำนวน 5 ช่อง สันเขื่อนเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร งบประมาณในการก่อสร้าง 231 ล้านบาท หลังแล้วเสร็จจะสามารถกักเก็บน้ำได้จำนวน 4.1 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า 37,000 ไร่
สำหรับการดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทั้ง 2 แห่ง อยู่ระหว่าง การดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จ ใน ปี 2565 ซึ่งมีความคืบหน้าของการก่อสร้าง เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ถือว่า ประตูระบายน้ำทั้ง 2 แห่ง นับว่าเป็นต้นแบบ การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม พร้อมเสนอโครงการก่อสร้าง เพิ่ม อีก 3 แห่ง ให้ครบ 5 แห่ง ตลอดระยะทาง 124 กิโลเมตร ของ แม่น้ำยมไหลผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดพิจิตร ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และอำเภอโพทะเล เพื่อกักเก็บน้ำและ คืนระบบนิเวศในแม่น้ำยมกลับคืนมา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี