"ใบเตยหอม" เป็นสมุนไพรไทยที่มาแต่โบราณ ที่เป็นที่รู้จักกันดี เป็นไม้ยืนต้น มีทรงพุ่มขนาดเล็กขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีข้อสั้นๆ โผล่จากดินเล็กน้อย จะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบๆ มีสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนจนถึงปลายยอด มีลักษณะยาวรี ใบเป็นทางยาว มีเส้นกลางชัด ขอบใบเรียบ ใบแข็งเรียบเป็นมัน มีสีเขียว มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศอินเดีย มีปลูกหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณ ทางยาหลายอย่าง ใช้ทำเครื่องดื่มต่างๆ และนำมาใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น เพิ่มสีอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู
ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า "เตยหอม" มีฤทธิ์ลดนํ้าตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการทดลองทางคลินิก ในเมืองไทยเรามีการใช้รากเตยหอมในการรักษาเบาหวานมานาน และคนที่ไม่เป็นเบาหวานก็กินได้เช่นกัน
สรรพคุณทางยาสมุนไพรและประโยชน์ใบเตยหอม มีวิตามินซี มีวิตามินอี มีโฟเลต มีแมกนีเซียม มีสังกะสี มีทองแดง มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีโพแทสเซียม มีแมงกานีส มีวิตามินเอ มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีเบตาแคโรทีน มีพลังงาน มีคาร์โบไฮเดรต
ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาท แก้ไข้ ช่วยดับพิษไข้ ช่วยคลายร้อน ช่วยดับพิษร้อนใน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มพลัง ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว ช่วยรักษาหืด ช่วยรักษาโรคหัด แก้กระษัย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาโรคข้อ ช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
วิธีใช้
1.ยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.ยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด นำรากเตยหอมประมาณ 1 ขีด สับเป็นท่อนเล็กๆ ต้มกับนํ้า 1 ลิตร จนเดือด จากนั้นเคี่ยวต่อประมาณ 15-20 นาที นำยาที่ได้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 ครั้ง หรือใช้ใบเตยร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น โดยนำใบเตยหอม 32 ใบ ใบสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วชงดื่มแบบชา หรือใส่หม้อดินต้ม กินเป็นยาต่างนํ้าทุกวัน
สำหรับ "เตยหอม" ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius come เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhway ในศรีลังกาเรียก rampe ในเวียดนามเรียก lá dứa ใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนม
การใช้มีทั้งนำไปขยำกับกะทิ ใส่ในภาชนะหุงต้ม ไก่ใบเตยจะเป็นการนำใบเตยมาห่อไก่แล้วนำไปทอด ใช้แต่งกลิ่นเค้กใบเตย และของหวานอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์ใช้เตยหอมแต่งกลิ่นในสลัดที่เรียก buko pandan
กลิ่นหอมของใบเตยเกิดจากสารเคมีที่เรียกว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นแบบเดียวกับที่พบในขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิและดอกชมนาด มีสารสกัดจากใบเตยขาย ซึ่งมักจะแต่งสีเขียว ใบใช้ไล่แมลงสาบได้
ข้อมูลบางส่วนจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี