จากสถานการณ์ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้การเดินทางจะไปไหนก็ลำบาก และที่สำคัญประเทศไทยเรายังอยู่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 อีกด้วย ฤดูฝนเป็นอีกหนึ่งสภาพอากาศที่มีความอับชื้นมาก ซึ่งนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อไวรัสแบคทีเรียชนิดต่างๆ เราทุกคนไม่รู้เลยว่าไปสัมผัสอะไรมาบ้าง ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและห่างจากโรคต่างๆ
วันนี้ “ทีมข่าวเฉพาะกิจออนไลน์แนวหน้า” ได้มีโอกาสพูดคุยปรึกษา ปัญหาและข้อสงสัยต่างๆ ผ่าน “นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช” ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย เล่าข้อมูลให้ฟังว่า ในช่วงฤดูฝนนี้อยู่ในช่วงฤดูอับชื้น เป็นแหล่งสะสมตัวนำพาหะเชื้อโรคอื่นๆ มาสู้คนได้เป็นอย่างดี โดยโรคที่มักจะพบเจอในช่วงฤดูฝนนี้ ดังนี้
1.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการเป็นไข้เล็กน้อย ไอมากอาจไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ อาจเจ็บกล้ามเนื้อหน้าอก หายใจลำบาก คัดจมูกมีน้ำมูกไหล
2.โรคไข้หวัด มีอาการปวดหัว ไอ เจ็บคอ นำมูกไหล หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
3.โรคไข้หวัดใหญ่ มีอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อยตัว มีอาการไอ มีน้ำมูก บางครั้งมีอาการเจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน
4.โรผิวหนัง มีอาการเป็นตุ่ม เป็นผื่นเชื้อรา ผื่นคัน ตามร่างกาย
5. โรคภูมิแพ้กำเริบ หอบหื่นกำเริบ มีอาการทางเดินหายใจลำบาก มีอาการไอเสียงดัง
6.โรคผื่นลมพิษกำเริบ มีอาการ มีผื่น เป็นปื้นแดง ตามตัว ตามผิวหนัง มีอาการคัน
และ 7.โรคไข้เลือดออก อาการไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ปวดเมื่อตามตัวได้ เหมือนกัน
นพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า โรคทางเดินหายใจโรคของหวัดแล้วก็ไข้หวัดใหญ่ ถ้าเป็นมากกว่านั้นหรือถ้าเป็นระยะเวลานานๆ เกิดการติดเชื้อในระบบอื่นได้ อาทิ การติดเชื้อลงปอดได้ ถ้าเป็นในวัยผู้ใหญ่ และโรคผิวหนัง ที่มากับความชื้นจำไว้เลยว่าที่ไหนมีพื้นที่นั่นมักจะมีเชื้อ ที่สำคัญ โรคที่ห่วงในช่วงนี้เป็นพิเศษ คือ ไวรัสกลุ่มของ โรคไข้เลือดออก คือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นกลุ่มไวรัสที่ติดจากยุง ยุงเป็นพาหะนำเชื้อชิคุนกุนยา มาในหน้าฝนสมารถติดได้จากยุง โรคไข้เลือดออก ในช่วงฤดูฝนจะพบเจอเยอะเป็นพิเศษ เพราะหน้าฝนมีสภาพอากาศค่อนข้างเปียกชื้นจะพบเจอได้บ่อยมาก
“โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)” มีอาการ เป็นไข้และปวดข้อ โดยมักเริ่มมีอาการ 2-12 วันหลังได้รับเชื้อ อาการอื่นที่มักพบได้แก่ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ข้อบวม และมีผื่น เป็นต้น อาการเหล่านี้มักดีขึ้นเองภายในหนึ่งสัปดาห์ โรคนี้มียุงเป็นพาหะที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน วิธีป้องกัน คือ การควบคุมยุงลายและการป้องกันไม่ให้ยุงกัด และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (ได้แก่ บริเวณที่มีน้ำขัง) ใช้ยาฆ่าแมลง การรักษาคือ พักผ่อนให้เพียง ทานยาแก้ปวดลดไข้ ดื่มน้ำสะอาดมาส่วนในของ เชื้อโควิด-19
“ช่วงฤดูฝน ไม่ได้เกี่ยวกับโควิดโดยตรง ตัวเราเองต้องคอยระวังภูมิคุ้มกันในตัว ระวังอย่าให้ภูมิคุ้มกันของตัวเองต่ำ ถ้าภูมิคุ้มกันของเราต่ำ ก็สามารถติดเชื้อจากโรคอื่นได้เช่นเดียวกัน ไม่ใช่แค่กับโควิด-19 ถ้าเราไปพบเจอกับกลุ่มคนที่เสี่ยงโควิด-19 เราก็สามารถติดเค้าง่ายขึ้น วิด หน้าฝนไม่ใช่สาเหตุของโควิด สาเหตุหลักที่จะทำให้ติดเลย ก็ต่อเมื่อเราไปเชื้อผ่านการสัมผัส หรือ ว่าละอองเชื้อ จากคนที่ติดมาโดยตรง” นพ. กฤษดา กล่าว
นพ. กฤษดา ยังแนะวิธีการป้องกันโรคอีกว่า เราควรทานอาหารธรรมชาติ โดยรวมคืออาหารที่เสริมภูมิ เช่น อาหารที่มีวิตามินซี มีซิงค์ มีน้ำมันตับปลา โดยเฉพาะ อาหารไทยที่มีวิตามินซีสูง มีซิงค์สูง ยกตัวอย่างเมนู อาทิ แกงส้ม ต้มโคล้ง ปลากรอบ ผัดกระเพรา มีส่วนในการช่วยไล่โรคในหน้าฝนได้ วิตามินซี ซิงค์ คือ แร่สังกะสีที่เป็นแร่ธาตุสำคัญและจำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรื่องของการปรับวิถีชีวิตก็มีความจำเป็นอย่างมาก เช่น การนอนให้เป็นเวลา เข้านอนเวลา 23.00 น. ตื่นเวลา 06.00 น. ให้ตรงเวลาควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงแค่นี้ก็จะช่วยให้ร่างกายเราปลอดโรคได้แล้ว
ข้อมูลจาก : เบญจมาศ ตรีอุทัย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี