รมว.กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา พาคณะ สส.และ ผวจ.บุกสำรวจ “หมุดโลก” หรือศัพท์ทางการทหารเรียกว่า “สถานีลาพล๊าส” บนยอดเขาสะแกกรัง เพื่อศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากได้รับความสนใจจากประชาชนเดินทางมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง ด้านทหาร เผย ใช้ศึกษา การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก พบประเทศไทยมีการเคลื่อนตัวในช่วงเกิดสินามิ 3-5 ซม.ด้วยกัน
8 พ.ย.63 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา นายณรงค์ รักร้อย ผวจ.อุทัยธานี พร้อมด้วยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ พร้อมด้วยคณะ ได้บุกเข้าสำรวจ “หมุดโลก” หรือศัพท์ทางกรมแผนที่ทางทหารเรียกว่า “สถานีลาพล๊าส” ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง อ.เมืองอุทัยธานี
โดยทั้งหมดได้เดินทางไปบนเส้นทางแคบๆ ของสันเขาสะแกกรัง ผ่านต้นไม้น้อยใหญ่ ขึ้นสูงต่ำสลับซับซ้อน ทางเดินบางช่วงก็เป็นทางลาดเทเล็กน้อย มีระยะทาง 400 เมตร เรียกว่า เดินพอได้เหงื่อพอถึงจุดสูงสุดของสันเขา จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพตัวเมืองอุทัยธานีและด้านทิศตะวันตกท้องนาอันเขียวขจี มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงาม ไม่นานคณะทั้งหมดก็เดินทางมาถึง พบ “หมุดโลก” ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านทั่วไปต่างนิยมเรียก มีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีตทรงสี่เหลี่ยมรูปตัวยูคว่ำ ใช้เป็นกรอบคร่อมของที่ตั้งหมุดแผนที่ และมีข้อความเขียนว่า “สถานีลาพล๊าส กรมแผนที่ทหาร 15 พ.ย.16 พ.ท.สอาด นิยพันธ์ ”
โดยมีนายทหารจากกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเดินทางมาตรวจสอบเพื่อรังวัดการเคลื่อนตัวของประเทศไทย ตามวงรอบ ได้ชี้แจงแก่คณะทั้งหมดว่า สถานีลาพล๊าส บนยอดเขาสะแกกรังแห่งนี้ เป็น 1 ใน 3 ของทวีปเอเชีย ซึ่งจุดที่ 1 อยู่ที่ประเทศอินเดีย จุดที่ 2 บนยอดเขาสะแกกรัง และจุดที่ 3 ที่ประเทศเวียตนาม ในอดีตใช้สำหรับคำนวณและแบ่งแนวเขตเพื่อลงพิกัดแผนที่โลก ใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการสำรวจแผนที่ทางการทหาร
ปัจจุบันได้หันมาใช้เครื่อง GPS จับพิกัดแทน เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์หาการเคลื่อนตัวของประเทศไทยว่า มีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางไหน โดยจะนำไปเทียบเคียงกับฐานข้อมูลเดิม ซึ่งพบว่า ในช่วงเกิดคลื่นสินามิ ประเทศไทยมีการเคลื่อนตัวฉีกออกจากกันในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ 3-5 ซม.ด้วยกัน ทาง จนท.การไฟฟ้ายังได้มาขอค่าจากหมุด GPS จากทางทหารอีกที เพื่อใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังการเคลื่อนตัวของเปลือกในเขื่อนสำคัญต่าง ๆ ของประเทศว่า จากหมุดไปยังสันเขื่อน มีการเคลื่อนตัวไปทางใด
ทั้งประเทศเรามีหมุดที่ใช้สำรวจการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ทั้งหมด 18 หมุดด้วยกัน มีทั้งหมุดอ้างอิงและหมุดหลัก ในลักษณะโครงข่ายโยงใยเป็น 3 เหลี่ยมครอบคลุมทั้งประเทศ การที่มาตั้งหมุดที่จ.อุทัยธานี ในปี 1975 เนื่องจากอุทัยธานี เป็นจุดกึ่งกลางของประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้จ.อุทัยธานี อ้างอิงแล้ว เนื่องจาก ใช้ดาวเทียวในการคำนวณแทน
สำหรับหมุดโลก บนยอดเขาสะแกกรัง แห่งนี้ ได้รับความสนใจจากประชาชนโดยทั่วไป ในโลกโซเชียล มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสอย่างแพร่หลาย ส่วนแนวทางการที่จะส่งเสริมให้หมุดโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้และชมทัศนียภาพมุมสูงของตัวเมืองอุทัยธานี จะไม่ให้เข้าไปในรัศมีของหมุดโลก ต้องอยู่ห่างออกมา 2-3 เมตรเป็นอย่างน้อย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี