สุดอลังการงานควายงาม! รวมพลควายโชว์ตัวเป็นๆ 100 ตัว แต่ละตัวสวยงามไม่มีที่ติมูลค่าเกือบ 50 ล้านบาท หวังหนุนให้เกษตรกรเลี้ยงในวงกว้างและให้อุดรฯ เป็นเมืองหลวงควายของไทย
15 พ.ค.65 ที่บริเวณหลุมขุดค้นโครงกระดูกมนุษย์โบราณ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง 5,000 บาท นายสุมนชาติ แสงปัญญา ปศุสัตว์จ.อุดรธานี,นายเจริญจิต สืบสาววงศ์ นายอำเภอหนองหาน,นายกรวีร์ สาราคำ สจ.เขตอ.หนองหาน,พ.ต.สุเมธ คำพิมาน นายกเทศมนตรีเทศบาลต.บ้านเชียง พร้อมด้วยชาวบ้านและเกษตรกรกลุ่มอนุรักษ์ควายไทยได้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญควายและนำพวงมาลัยคล้องเพื่อความเป็นความศิริมงคลเนื่องในวันอนุรักษ์ควายไทย พร้อมกันนี้ในพิธีดังกล่าวยังได้นำควายงามราคาเป็นล้านๆ มาโชว์ให้ชาวบ้านได้ดูด้วย เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา อย่างเช่น เพชรสงคราม เป็นควายอีสานแท้ๆ แชมป์ฟันแท้ไม่เกิน 2 คู่ ปี 2561 นอกจากนี้ยังมีเจ้า เพิ่มทรัพย์ลูกเจ้าเพชรสงคราม ราคาไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ขณะที่หลายๆ คนก็สนใจอยากหันมาเลี้ยงควายงาม เช่น สจ.กรวีร์ยังคิดจะลาออกจากสจ.มาเลี้ยงควายงามบ้าง ขณะคุณสมบัติควายงามดูแล้วสมบูรณ์คือ ตาแต้ม แก้มจ้ำ คอฮ่อง และจะมีถุงเท้าขาว เนื้อหนังดี หางยาว
ส่วนที่บริเวณ หนองศรีเจริญ บ้านธาตุ ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี นายกิตติภูมิ ดวงพรม หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอเพ็ญ อุดรธานี เป็นประธานเปิดงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยจังหวัดอุดรธานี “วิถีคนวิถีควายสัญจร” โดยมี ประธานกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยอุดรธานี ท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี, นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันตำบลบ้านธาตุ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านธาตุ ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ ในพื้นที่ร่วมงาน
นายพิพัฒน์ รอดชมภู นายกเทศมนตรีตำบลบ้านธาตุ กล่าวว่า เทศบาลตำบลบ้านธาตุ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยอุดรธานี ซึ่งมีกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงควายเครือข่ายในระดับอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองแสง อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ อำเภอไชยวาน อำเภอกู่แก้ว อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน อำเภอเพ็ญและอำเภอหนองหาน ร่วมนำควายไทยเข้ามาประกวด ตั้งเป้าให้จังหวัดอุดรธานีมุ่งสู่ "เมืองหลวงควาย" ของประเทศไทยต่อไป
กิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย โชว์ควายสวยงาม ประกวดควายสวยงามเฉพาะควายในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 3 คู่ ขึ้นไป เพศเมีย, ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 3 คู่ ขึ้นไป เพศผู้ ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 2 คู่ เพศเมีย ,ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 2 คู่ เพศผู้
ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 1 คู่ เพศเมีย, ประเภทการประกวดควายฟันแท้ 1 คู่ เพศผู้ ,การประกวดควายฟันน้ำนมเพศเมีย ,ประเภทการประกวดควายฟันน้ำนมเพศผู้ , ประเภทการประกวดควายฟันน้ำนมจูเนียร์ ความสูงไม่เกิน 140 ซม. เพศเมีย และประเภทการประกวดควายฟันน้ำนมจูเนียร์ ความสูงไม่เกิน 140 ชม. เพศผู้ ควายเข้าประกวดกว่า 100 ตัว และโชว์ควายสวยงาม มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท
วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ควายไทยในการสืบสาน รักษา ต่อยอดรายได้สายพันธุ์ที่ดี เพื่อสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ในการเลี้ยงควาย ในวิถีเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากในชุมชน และจะมีพิธีอัญเชิญม้าคำไหล ณ บริเวณลานเจดีย์พระศรีมหาธาตุวัดศรีเจริญ โพนบก ,พิธีบายศรีสู่ขวัญปู่ม้าคำไหล, รำถวายพระศรีมหาธาตุ และนำบั้งไฟถวายปู่พระศรีมหาธาตุ บั้งไฟปูม้าคำไหลไปยังฐานจุด และจุดบั้งไฟถวายปู่ม้าคำไหล ณ ฐานจุดบั้งไฟ โดยมีเกษตรกรเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย ทั้ง 14 อำเภอเข้าร่วมงานบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักเป็นอย่างมาก. -008
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี