12 ตุลาคม 2565 ที่บริเวณซุ้มประตูเมืองอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอลับแล เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะสัญจร อ.ลับแล ประจำปี 2565 หรืองานประเพณีสารทเดือนสิบ (งานแห่เปรต) ของวัดดอยสวรรค์ (เขาไก่เขี่ย) เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสสร้างบุญกุศลในการนำข้าวสาร อาหารแห้ง มาทำบุญตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์
โดยมีพระครูสิริกิจวิธาน เจ้าคณะอำเภอลับแล เจ้าอาวาสวัดเสาหิน พระครูประจักร์กิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยสวรรค์(เขาไก่เขี่ย) นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวรายงาน นางจินดารัตน์ เสริฐลือชา นายกกิ่งกาชาดอำเภอลับแล นายเจษฎา ศรุติสุต นายกเทศมนตรีตำบลศรีพนมมาศ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชนชาวลับแล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะสัญจร
หลังเสร็จพิธีเปิดได้ทำการจุดพลุ จุดประทัดทำให้ผู้ที่เดินทางมาร่วมงานต่างจดเลขหางประทัด เพื่อนำไปเสี่ยงโชค เสี่ยงดวง โดยเลขหางประทัด ได้แก่ 168 และ18
นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอลับแล กล่าวว่า งานประเพณีสารทเดือนสิบ (งานแห่เปรต) มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อสืบสานประเพณีสารทเดือนสิบ (งานแห่เปรต) ของวัดดอยสวรรค์ (เขาไก่เขี่ย) ให้พุทธศาสนิกชน และคนรุ่นหลังได้สืบทอด และเพื่ออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเจ้ากรรมนายเวร และวิญญาณสัมภเวสีและวิญญาณเปรตาชนทั้งหลายได้มารับส่วนบุญส่วนกุศลในครั้งนี้
อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนของ ต.วังแดง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีกิจกรรม อาทิ การแห่ขบวนเปรต , อสุรกาย , สัตว์นรก , เหล่าเทพอินทร์ พรหม ยมยักษ์, เหล่าเทวดา นางฟ้าและพญายม รวมถึงได้จัดให้มีการละเล่นประเพณีพื้นบ้าน เช่น ลิเกคณะเมริสา คชาชาติ , รำวงย้อนยุค , ขบวนการละเล่นอื่นๆ
ในการนี้ พระครูสิริกิจวิธาน เจ้าคณะอำเภอลับแล เจ้าอาวาสวัดเสาหิน ,พระครูประจักร์กิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยสวรรค์(เขาไก่เขี่ย) , พระภิกษุสงฆ์ จากวัดต่างๆร่วมเดินในการรับบิณฑบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง พร้อมทั้งน้ำดื่ม เพื่อเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเพื่อเป็นการรวบรวมบุญบารมี ให้บังเกิดเป็นมรรคผลสำเร็จในพระพุทธศาสนา
ด้านพระครูประจักร์กิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยสวรรค์(เขาไก่เขี่ย) กล่าวว่า งานประเพณีปล่อยเปรตยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากเยาวชนและประชาชนในเขตพื้นที่ได้ให้ความสนใจงานบุญพิธีปล่อยเปรตเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการร่วมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้แก่ชาวบ้าน เด็ก ๆและเยาวชน ได้ร่วมแสดงออกในขบวนแห่เปรต เพื่อรณรงค์สื่อความหมายถึงสิ่งชั่วร้ายที่มนุษย์ได้กระทำขึ้นเมื่อครั้งอดีตการ ส่งผลให้ชีวิตประสบแต่ความเป็นทุกข์ ล้มเหลวในชีวิต ฉันใดฉันนั้น เมื่อทำแต่ความดี ชีวิตก็เป็นสุขสมหวัง
งานประเพณีแห่เปรตของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงถือเป็นภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยอดีต ที่บอกเล่าให้ลูกหลานไม่ให้กระทำความผิด ให้หันมาทำแต่ความดี และเมื่อผู้ใดได้ทำบุญปล่อยเปรต ผู้นั้นจะได้บุญมหาสาร ในทุกปีชาวบ้านในเขตพื้นที่จึงพากันมาร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งให้แก่พระสงค์ ส่วนเหรียญบาทก็จะจัดเตรียมไว้ให้กับผีเปรต เพื่อให้ผีเปรตนำเงินที่ได้จากการขอไปทำบุญที่วัด เพื่อจัดสร้างศาลาการเปรียญวัดและสิ่งต่างๆ ภายในวัดเพื่อร่วมทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญสืบต่อไป.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี