ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ กับเวทีนวัตกรรมทางสังคม กับการเร่งรัดเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “เสียงผู้คนในพื้นที่ ภายใต้วิกฤตภูมิอากาศ-โลกรวน” ซึ่งร่วมจัดโดยหลายองค์กรและถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยหนึ่งในนั้นคือการเสวนาหัวข้อ “ชุมชนท้องถิ่นและการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นภาคอุตสาหกรรม” มีตัวแทนภาคประชาสังคมหลายกลุ่มร่วมให้มุมมอง
เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง จากมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า เมื่อพูดถึง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งได้ผ่านการทบทวนของ
สหประชาชาติและรัฐบาลนานาชาติในปี 2535 ที่มองว่า “ถ้าทิศทางการพัฒนาของโลกยังก้าวเดินไปที่เน้นภาคอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว โลกหายนะอย่างแน่นอน”ซึ่งจะเกิดความไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยหลากหลายเรื่อง ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องถอยหลัง 1 ก้าว เพราะเป็นสาเหตุในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การทำลายสิ่งแวดล้อม การสร้างภาวะโลกร้อน และการสร้างความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
นอกจากนี้ สหประชาชาติยังให้บรรทัดฐานใหม่อีกว่า “จากนี้ไปรัฐบาลทุกประเทศต้องพาคนในชาติก้าวไปสู่ทิศทางพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้จะต้องมี 3 เสาหลัก คือ 1.ประชาชนต้องมีส่วนร่วม มีส่วนร่วมในทุกๆ เรื่อง รวมไปถึงการตัดสินใจในนโยบายที่สำคัญของรัฐที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชน 2.ประชาชนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งภาครัฐจะต้องจัดข้อมูลตามที่ประชาชนต้องการ
เช่น ข้อมูลเรื่องของสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่จะสนับสนุนการตัดสินใจของประชาชนในกระบวนการมี
ส่วนร่วม เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความโปร่งใสอีกด้วย และ 3.การเข้าถึงความเป็นธรรม ซึ่งทุกรัฐบาลจะต้องมีการช่องทางและกลไกต่างๆ ที่จะเอื้อให้ประชาชนได้รับการปกป้องและคุ้มครอง สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา การฟ้องคดี และข้อมูลต่างๆ เพราะฉะนั้น 3 เสาหลักจะรองรับและพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
“ในปี พ.ศ.2535 ยังมีการพูดคุยกันชัดเจนว่าอุตสาหกรรมทุกแห่งจะต้องลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่กลไกลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเกิดกฎหมาย PRTR ขึ้นมา ซึ่งในประเทศไทยกำลังรณรงค์กันในปัจจุบัน โดยปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและฐานข้อมูล ที่จะทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ เมื่อเทียบกับต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่โรงงานไหนมีการใช้สารเคมีที่ USPPA ประกาศออกมามากถึง 800 กว่าสาร จะต้องรายงานข้อมูลให้ USPPA รับทราบ” เพ็ญโฉม กล่าว
นันทวัน หาญดี จากสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ถ้าพูดระบบนิเวศในจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบมีพื้นที่ติดกับป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ถึงแม้จะติดกับป่า
รอยต่อแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องกว่า 50 ปี เนื่องจากพื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออกในโซนของจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายจากนโยบายของรัฐ จึงทำให้ป่าสงวนถึงสัมปทานให้เอกชนตัดไม้เศรษฐกิจสำคัญออกไปทำให้ป่าเสื่อมโทรม
“ฉะนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อการส่งออก ที่ให้ความสำคัญแต่การเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้มองเรื่องของความมั่นคงทางอาหารและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรจึงเห็นภาพของการปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก ที่เข้าไปทดแทนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งทำให้เห็นปัญหาความไม่เป็นธรรมเรื่องของสิทธิในที่ดินและการเข้าถึงที่ดิน ถึงแม้จะได้ที่ดินมาครอบครองแต่ก็อยู่ในระบบเศรษฐกิจผูกกับระบบเศรษฐกิจโลก คือ การปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งรายได้ไม่พอเพียงเพราะราคาก็ถูกกำหนดจากกลไกตลาด” นันทวัน กล่าว
นันทวัน กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ “ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน” เป็นทางเลือกและทางรอดของเกษตรกร โดยบ้านยางแดงเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1 ใน 12 หมู่บ้านของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในอดีตเป็นหมู่บ้านที่ยากจน รายได้คนในชุมชนประมาณร้อยละ 10 ต่ำกว่าค่าครองชีพที่จะอยู่ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ “ชาวบ้านได้ตื่นรู้” จากการวิเคราะห์ถึงปัญหาเกิดขึ้นวิเคราะห์ฐานทรัพยากร และการพึ่งพา
จนนำไปสู่ความเข้าใจในวิถีชีวิตที่จะอยู่ได้จะต้องอยู่ในฐานทรัพยากรที่หลากหลาย ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร และสามารถที่จะสร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนของรายได้ เพราะฉะนั้นเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร การรักษาสิทธิ์ และใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหาร เป็นการปกป้องความมั่นคงทางอาหารของสังคม และเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นและวัฒนธรรมด้วย
มานพ สนิทหาญดี จากเครือข่ายชายฝั่งบูรพา กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานกับชาวประมงและชายฝั่ง ได้พบเห็นปรากฏการณ์หลายเรื่อง ตั้งแต่การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการพัฒนาเชิงนโยบายที่ลงไปชายฝั่งทะเลจนมาถึง EEC ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงการพัฒนาเชิงนโยบายในพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีจำนวนมาก ในส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทะเล
“ที่เห็นได้ชัด คือการกัดเซาะชายฝั่ง เห็นได้จากพื้นที่ระหว่างมาบตาพุดกับหาดแสงจันทร์ จ.ระยอง ที่มีเขื่อนหินเป็นชั้นๆ ถ้าหากคนภายนอกมองจะเห็นความสวยงามของธรรมชาติ แต่ว่าพื้นที่ที่หายไปจากการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงจากสภาพน้ำทะเลมีจำนวนสูงขึ้น รวมถึงทรัพยากรบางอย่างที่หายไป เช่น ป่าชายเลน และแนวป้องกันการปะทะคลื่นต่างๆ หายไปนอกจากนี้ประเด็นการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ จะเป็นตัวเร่งให้กลับไปสู่การปลดปล่อยมลพิษให้สูงขึ้น การที่จะเป็นเมืองที่มีคาร์บอนต่ำจึงเป็นไปไม่ได้” มานพ กล่าว
พรพนา ก๊วยเจริญ จาก Land Watch Thailand กล่าวว่า หลายพื้นที่เรื่องระบบนิเวศ เรื่องความสำคัญของ
พื้นที่ และเรื่องเศรษฐกิจท้องถิ่น จะไม่ปรากฏในผังเมืองและไม่ได้ให้ความสำคัญ เช่นเดียวกับพื้นที่นาขาวัง ต.เขาดินอ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตปากแม่น้ำมีระบบนิเวศแบบ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ถึงแม้ในผังเมืองจะพูดถึงว่าจะต้องคำนึงถึงภูมินิเวศ แต่ว่าผังเมืองไม่ได้สนใจที่จะทำให้มีความสำคัญ
“สิ่งที่น่าสนใจคือไม่ปรากกฏอยู่ในนโยบายและกฎหมาย EEC ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ชาวบ้านปรับตัวจากสภาพภูมิอากาศเมื่อ 20 ปีก่อนเดิมทีทำนาอย่างเดียว แต่ปัจจุบันสามารถทำนาข้าวและทำประมงในพื้นที่ผืนเดียว และมีที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถทำได้ จึงแสดงให้เห็นว่า กระบวนการวางแผนตลอดจนถึงเรื่องความสำคัญระดับท้องถิ่น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์แล้ว” พรพนา กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี