4 พฤศจิกายน 2565 ที่บ้านนายช่างแกะหนังตะลุง หมู่9 บ้านวังผาสามัคคี ต.ควนกากลง อ.ควนกาหลง จังหวัดสตูล น้องบาส หรือนายวรวิท มาศแก้ว อายุ20 ปี โชว์การพากย์หนังตะลุงและขับกลอนตามลีลาของนายหนัง ซึ่งเป็นความชื่นชอบตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แม้ใครจะพูดว่าเป็นเยาวชนที่หัวโบราณก็ไม่ได้รู้สึกอับอาย และยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น
นอกจากจะชื่นชอบในลีลาการพากษ์หนังตะลุงแล้ว น้องบาสยังชอบที่จะเรียนรู้การแกะสลักรูปหนังตะลุงด้วย โดยมักจะมาขอความรู้กับนายสุริยา กรงไกรจักร์ อายุ 52 ปี นายช่างแกะสลักอยู่บ่อยครั้ง โดยความตั้งใจอยากจะแกะสลักรูปหนังตะลุงด้วยตนเองซึ่งเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจ อีกทั้งความรู้ที่ได้มายังสร้างรายได้หลังมีการโพสต์ผลงานขึ้นsocial ก็มีออเดอร์จากนายหนัง กลับมาเป็นรายได้ให้กับตนทางหนึ่งด้วย
น้องบาส หรือนายวรวิท มาศแก้ว บอกว่า ผมเป็นเยาวชนคนหนึ่งที่ชื่นชอบในศาสตร์นี้ ที่จะศึกษาหาความรู้ โดยชื่นชอบก็จะทำให้ดีที่สุด ถ้าใครไม่ชอบก็อย่าดูถูก เพราะเป็นงานศาสตร์และศิลป์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวใต้ โดยหนังตะลุงที่น้องแกะสลักส่วนใหญ่จะเป็นตัวตลก โดยจะขายในราคาตัวละ 350 บาท ใน 1 ตัวจะใช้เวลาทำนานถึง 3 ชั่วโมง หากเป็นตัวที่ยากๆอย่างตัวเจ้าเมืองใช้เวลาทำนานถึง 2 วัน เนื่องจากต้องใช้ความละเอียดและลวดลายที่เยอะกว่า
หนังตะลุงจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ รูปครู , รูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดาเจ้าเมือง, รูปคนรวย รูปคนจน, รูปกาก หรือตัวตลกอย่างไอ้เท่งไอ้นุ้ย ,ฝ่ายธรรมะ พระเอกนางเอก พระ ,และฝ่ายอธรรม โจร ยักษ์ มาร เป็นต้น
นายสุริยา กรงไกรจักร์ นายช่างแกะสลักหนังตะลุงวัย 52 ปี ปราชญ์ชาวบ้านที่ยังคงสืบสานการแกะสลักหนังตะลุงแม้วันนี้แทบจะไม่ได้รับความนิยม และมีเพียงน้องบาสเท่านั้นที่ให้ความสนใจ ที่จะเรียนรู้เพื่อสืบสานศิลปะท้องถิ่นคะแขนงนี้ที่กำลังจะสูญหายไป
ความมุ่งมั่นตั้งใจอยากให้ศิลปะแขนงนี้มีการสืบสานส่งต่อเผยแพร่ให้เยาวชนรุ่นหลังได้หันมาร่วมกันภาคภูมิใจ แม้เป็นความหวังอันน้อยนิด แต่นายช่างสุริยาก็ยังคงเดินหน้าแกะสลักหนังตะลุงงานศิลปะที่ตนชื่นชอบมาตั้งแต่เยาว์วัย ตามออเดอร์เป็นรายได้เสริมจากงานหลักทำสวนยางพารา
รูปหนังตะลุงกว่า 70 ตัวบางตัวอายุมากถึง 130 ปี จากรุ่นพ่อที่เป็นนายช่างแกะสลักเป็นเครื่องเตือนใจให้นายสุริยา ที่พร้อมจะส่งต่อความรู้ให้กับเยาวชนคนรุ่นหลังรวมทั้งครั้งหนึ่งเคยถวายผลงานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ ที่จะสืบสานศิลปะแขนงนี้ตลอดไป
นายสุวิทย์ ช่วยคำ ส.อบต.ควนกาหลง กล่าวว่า การแกะหนังตะลุงที่มีทำกันมานาน จนถึงรุ่นเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีการไปสอนตามโรงเรียนด้วย สิ่งหนึ่งที่ขาดคือการพลักดัน โดยทางอบต.ควนกาหลง เองก็พยามพลักดัน แกะหนังตะลุงให้เป็นจุดการท่องเที่ยววัฒนธรรมในตำบลควนกาหลง และร่วมสืบสานวัฒนธรรมต่อไป
โดยผู้ที่สนใจสามารถและร่วมสนับสนุนอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นใต้แขนงนี้สามารถสั่งออเดอร์ได้ที่ นายสุริยา กรงไกรจักร์ อายุ 52 ปี โทร.061 231 0798 , หรือที่น้องบาส นายวรวิท มาศแก้ว อายุ20 ปี โทร. 063 426 0514
.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี