เปิดเอกสารสำคัญ หญิงคนนี้คือแบบปั้นใบหน้าย่าโม รับค่าจ้าง 3 บาท
10 มีนาคม 2566 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Tanin Soontranon ของ ธานินทร์ สุนทรานนท์ ได้โพสต์ภาพ เผยเอกสารหน้าสำคัญที่เกี่ยวกับการปั้นอนุสาวรีย์ย่าโม โดยข้อความในเอกสารระบุว่า "วันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2477 ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ ได้รับเงินค่าจ้างนั่งเป็นแบบสำหรับการปั้นรูปในการทำอนุสสาวรีย์ ท้าวสุรนารี ของกองประณีตศิลปกรรม รวม 1 วัน เป็นเงิน 1 บาท (หนึ่งบาทถ้วน) ได้รับเงินจำนวนนี้ไปเสร็จแล้ว" พร้อมระบุชื่อ "นางเชื่อม" ผู้รับเงิน
ธานินทร์ ยังระบุแคปชั่นประกอบโพสต์นี้ไว้ด้วยว่า " ทีนี้ ..เราก็รู้แล้วว่า ใครเป็นแบบ ปั้น ย่าโม อาจารย์ศิลป พีระศรี ปั้นดูแบบอยู่ 3 วัน นางเชื่อม ได้ค่าจ้างไป 3 บาท.." โพสต์มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก
ขณะที่ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้ให้ข้อมูลองค์ความรู้เรื่อง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไว้ดังนี้
เดือนมีนาคม สำหรับชาวนครราชสีมา เป็นเดือนแห่งการระลึก วีรกรรมท่านท้าวสุรนารี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ขณะท้าวสุรนารีเเละหญิงชาวเมืองนครราชสีมาถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เเต่ภายหลังเมื่อพักแรมที่บ้านสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) สามารถเข้าสู้เเละรอดพ้นภัยจากข้าศึกศัตรูได้สำเร็จ จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได่สถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารี ในปี 2370
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นในปี 2476 โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เเละพระเทวาภินิมมิต ซึ่งพื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา ร่วมกันออกแบบ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันตก) เเละทำพิธีเปิดในช่วงต้นปี 2477 เเละได้มีการซ่อมแซมส่วนฐานอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ในปี 2510 โดยมีสภาพดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
กรมศิลปากร ได้กำหนดให้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เเละประตูชุมพล พร้อมด้วยแนวกำแพงเมืองนครราชสีมาใบเสมาข้างละ 10 ใบ ที่ยืดออกจากประตูชุมพล เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในปี 2480 ในเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ยังมีโบราณสถานที่กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สถานพระนารายณ์ เเละศาลหลักเมือง
"...เป็นแสงสว่างอยู่กลางเมือง
รุ่งเรืองสตรีวีรชน
ใครไหว้ใครบน
ได้ดังอธิษฐาน..."
ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ยังคงตั้งเด่นตระหง่านหน้าประตูชุมพล เป็นที่เคารพบูชา ขอพร ผ่านไปผ่านมาต้องเเวะไหว้ ของชาวนครราชสีมา เเละชาวไทย ทุกคน มายาวนานกว่า 87 ปี
-009
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี